Page 17 - kpiebook63023
P. 17
17
ในประเทศที่ยึดมั่นในหลักการแห่งรัฐสวัสดิการมีความเชื่อว่า
รัฐจะต้องท�าหน้าที่ในการธ�ารงไว้ซึ่ง
ความเสมอภาคและเท่าเทียมกันในหมู่ประชาชน
ประเด็นเรื่องแนวคิดหรืออุดมการณ์ยังอาจนับเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อบทบาทในการจัดบริการ
สาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่าจะมีมากหรือน้อยอย่างไร เช่น ในกรณีของประเทศอังกฤษ
ซึ่งนับตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษที่ 1970 ต่อเนื่องถึง 1980 ได้รับเอาหลักการแบบเสรีนิยมใหม่ (Neoliberalism)
ที่มุ่งลดขนาดและบทบาทของภาครัฐลง โดยพยายามปฏิรูปการบริหารงานของภาครัฐเพื่อให้ภาครัฐทำาบริการ
สาธารณะเท่าที่มีความจำาเป็นจริงๆ เท่านั้น แนวคิดดังกล่าวได้มีผลทำาให้บริการสาธารณะจำานวนมากทั้งของ
รัฐบาลกลางและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ลดจำานวนลง ทั้งนี้ได้มีการประมาณการกันว่าอาจมีภารกิจ
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นจำานวนมากถึงกว่า 80 ภารกิจ เช่น ถนน ไฟฟ้า โรงพยาบาล ประปา ฯลฯ
ได้ถูกปฏิรูปและถ่ายโอนไปให้กับ “องค์การมหาชน (QUANGOs)” ให้เป็นผู้รับผิดชอบดูแลภารกิจเหล่านั้น
1
แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Allen, 1990, p. 27) การที่องค์การมหาชนเข้ามารับผิดชอบในการจัดภารกิจ
ดังกล่าวข้างต้น จึงเท่ากับว่าบทบาทภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถูกจำากัดลง ซึ่งย่อมเท่ากับว่าบทบาท
และการมีส่วนร่วมของประชาชนภายในท้องถิ่นที่มีต่อการจัดบริการสาธารณะในเรื่องเหล่านั้นย่อมลดลงตามไปด้วย
สำาหรับในบางประเทศที่มีความเชื่อในอุดมการณ์ทางการเมืองในแนวสังคมนิยม (Socialism) แบบ
ไม่สุดขั้ว อันส่งผลทำาให้มีลักษณะเป็นรัฐสวัสดิการ (Welfare State) อย่างเช่น ประเทศในแถบสแกนดิเนเวียนั้น
เราอาจพบว่า ภารกิจในการจัดบริการสาธารณะไม่ว่าจะเป็นการจัดการศึกษา หรือการดูแลด้านสุขภาพของ
ประชาชนก็ตาม มักจะยังคงเป็นภารกิจที่อยู่ในความรับผิดชอบหรือเป็นภารกิจที่ให้บริการโดยรัฐซึ่งอาจหมายรวมถึง
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย ทั้งนี้เพราะในประเทศที่ยึดมั่นในหลักการแห่งรัฐสวัสดิการมีความเชื่อว่า
รัฐจะต้องทำาหน้าที่ในการธำารงไว้ซึ่งความเสมอภาคและเท่าเทียมกันในหมู่ประชาชน ซึ่งการที่บริการสาธารณะ
ขั้นพื้นฐานจำานวนหนึ่งถูกกระจายหรือแปรรูปไปเป็นเอกชนนั้น อาจส่งผลทำาให้ประชาชนจำานวนหนึ่งที่อาจมี
ฐานะที่ยากจนกว่าคนอื่นๆ ไม่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณะนั้นๆ ได้ รัฐซึ่งอาจหมายรวมถึงองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นจึงต้องมีบทบาทหน้าที่สำาคัญในการจัดบริการสาธารณะเพื่อให้เกิดหลักประกันว่าบริการสาธารณะ
เหล่านั้นจะครอบคลุมและเปิดโอกาสให้กับประชาชนทุกกลุ่มได้เข้าถึงบริการสาธารณะ
1 องค์การมหาชน หมายถึง องค์ที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยกฎหมาย เพื่อให้มีภาระหน้าที่หรือ
ความรับผิดชอบในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่องเป็นการเฉพาะ องค์กรเหล่านี้ในทางการบริหารมักมีความเป็นอิสระและ
คล่องตัวมากกว่าส่วนราชการปกติ แต่ทว่ายังคงต้องอยู่ในการกำากับดูแลของส่วนราชการ