Page 18 - kpiebook63023
P. 18
18 ชุดวิชำ แนวคิดพื้นฐำนเกี่ยวกับกำรกระจำยอ�ำนำจและกำรปกครองท้องถิ่น
ประการที่สอง เมื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทที่สำาคัญในการจัดบริการสาธารณะแล้ว นั่นก็ย่อม
หมายความว่าบริการสาธารณะจำานวนหนึ่งมิได้จัดทำาบริการโดยรัฐบาลกลาง เมื่อเป็นเช่นนั้นก็หมายความว่า
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีบทบาทสถานภาพเป็นกลไกที่ทำาหน้าที่หนุนเสริมรัฐบาลกลางในการจัดทำา
บริการสาธาณะให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากในประเทศใดที่มีการกระจายหรือถ่ายโอนภารกิจของ
รัฐบาลมาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากๆ แล้ว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็จะทำาหน้าที่เป็นเสมือนกันชน
(Buffer) ที่ลดแรงกดดันที่อาจจะเกิดขึ้นได้ระหว่างประชาชนภายในท้องถิ่นกับรัฐบาลกลาง ยกตัวอย่างเช่น
ในบางประเทศที่รัฐบาลถ่ายโอนภารกิจในด้านการจัดการศึกษาในระดับต่างๆ มายังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
แล้วเกิดปัญหาว่าประชาชนไม่พอใจในคุณภาพมาตรฐานของโรงเรียน แทนที่ประชาชนจะต้องร้องเรียนหรือ
เรียกร้องไปยังรัฐบาลกลางอันเป็นการเพิ่มแรงกดดันในการทำางานให้กับรัฐบาล ประชาชนก็สามารถที่จะ
เรียกร้องในเรื่องมาตรฐานการจัดการศึกษาจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดูแลโรงเรียนเหล่านั้นได้เลยโดยตรง
ซึ่งย่อมเท่ากับว่ารัฐบาลกลางก็ไม่ต้องมารับภาระในเรื่องดังกล่าว เพราะฉะนั้น ยิ่งรัฐบาลกลางถ่ายโอนภารกิจ
มาให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้นเท่าใด นั่นก็เท่ากับว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะมีส่วนช่วยใน
การแบ่งเบาภาระและแรงกดดันที่อาจจะเกิดขึ้นกับรัฐบาลกลางได้มากขึ้นเท่านั้น
นอกจากการลดแรงกดดันที่อาจเกิดขึ้นกับรัฐบาลกลางแล้ว การกระจายอำานาจยังทำาให้กระบวนการ
ตัดสินใจต่างๆ เกี่ยวกับการจัดทำาบริการสาธารณะมีลักษณะที่ตอบสนองและสอดคล้องกับความต้องการ
ของประชาชนและกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ที่หลากหลายในพื้นที่ได้มากขึ้นอีกด้วย (Jha and Mathur, 1999,
pp. 13-14; Hadenius, 2003, p. 1)
ประการที่สาม ในมิติที่มีความเชื่อมโยงกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแล้ว การปกครอง
ส่วนท้องถิ่นยังเป็นเสมือนสนามฝึกทางการเมือง หรือการให้การศึกษาทางการเมืองให้แก่ประชาชนภายใน
ท้องถิ่น (Political Education) อีกด้วย (ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์, 2555, น. 15) ทั้งนี้เนื่องจากการเปิดโอกาสให้
ประชาชนได้มีสิทธิในการเลือกสมาชิกสภาหรือผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อมาทำาหน้าที่ในการบริหารองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นเป็นการทำาให้ประชาชนได้มีการเรียนรู้ว่าการเลือกตัวแทนควรต้องมีหลักการหรือวิธีการในการเลือก
อย่างไร สมาชิกสภาหรือผู้บริหารแบบไหนที่มีคุณสมบัติและมีความเหมาะสมที่จะได้รับเลือก เช่น ตัวแทนที่มี
ความมุ่งมั่นในการพัฒนาท้องถิ่น ตัวแทนที่มีความรู้ ฯลฯ การที่ประชาชนเลือกผู้บริหารท้องถิ่นแล้วปรากฏว่า
ผู้บริหารท้องถิ่นผู้นั้นไม่ทำาตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ หรือเกี่ยวข้องกับการทุจริต สิ่งที่เกิดขึ้นย่อมถือเป็นประสบการณ์
ทางการเมืองที่สำาคัญสำาหรับประชาชน ทำาให้ประชาชนเกิดความเรียนรู้และมีความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น
อย่างในกรณีที่ประเทศไทยได้มีการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำาบลให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขั้นพื้นฐาน
ของประเทศตั้งแต่ช่วงหลังปี พ.ศ. 2537 เป็นต้นมานั้น ปรากฏการณ์ดังกล่าวข้างต้นนับได้ว่ามีส่วนอย่างมาก
ในการให้ประสบการณ์ทางการเมืองแก่ประชาชน ทำาให้ประชาชนในท้องถิ่นมีความรู้ความเข้าใจการปกครอง
ในระบอบประชาธิปไตยได้มากยิ่งขึ้น (วุฒิสาร ตันไชย, 2552, น. 106-107)