Page 22 - kpiebook63023
P. 22

22    ชุดวิชำ แนวคิดพื้นฐำนเกี่ยวกับกำรกระจำยอ�ำนำจและกำรปกครองท้องถิ่น








                      ข้อที่สอง ความสะดวกสบาย (Convenience) เมื่อบริการสาธารณะต่างๆ ได้รับการกระจายหรือ

             ถ่ายโอนมาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้ว เมื่อประชาชนจะมาขอรับบริการสาธาณะต่างๆ ประชาชน
             สามารถที่จะติดต่อและขอรับบริการได้จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งอยู่ในพื้นที่หรือชุมชนที่ประชาชน

             อาศัยอยู่ ทำาให้ประชาชนในท้องถิ่นได้รับความสะดวกสบายได้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเปรียบเทียบ
             กับการที่บริการสาธาณะต่างๆ จัดทำาโดยราชการส่วนกลาง เช่น การขออนุมัติ อนุญาตต่างๆ หากเป็นภารกิจที่

             องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดูแล ประชาชนก็ไม่จำาเป็นต้องไปขออนุญาตจากหน่วยงานของส่วนกลางที่บางครั้ง
             ตั้งสำานักงานที่อยู่ไกลออกไป


                      ข้อที่สาม การร่วมมือประสานงาน (Coordination) โดยทั่วไปแล้วหากการจัดบริการสาธาณะ

             อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการต่างๆ ในส่วนกลาง ย่อมส่งผลทำาให้การจัดบริการสาธาณะเหล่านั้น
             ขาดการประสานงานร่วมกัน ทำาให้เกิดลักษณะที่แต่ละหน่วยงานต่างจัดทำาบริการสาธารณะที่ตนนั้นรับผิดชอบ

             ซึ่งบ่อยครั้งการขาดการประสานการทำางานอาจส่งผลให้เกิดการทำางานที่ซำ้าซ้อน ขาดประสิทธิภาพ และอาจ
             สิ้นเปลืองงบประมาณ เช่น บ่อยครั้งที่เราอาจเคยเห็นหน่วยงานที่รับผิดชอบระบบสาธาณูปโภค สาธารณูปการ

             ขุดเจาะและซ่อมแซมถนนเส้นเดิมๆ อยู่ซำ้าๆ ภายในช่วงระยะเวลาไล่เลี่ยกันเพียงไม่กี่เดือน ซึ่งหากไปพิจารณา
             ถึงสาเหตุแล้วอาจพบว่าเพราะหน่วยงานเหล่านั้นเป็นหน่วยงานจากส่วนกลางที่ไม่เคยมีการประสานการทำางาน

             ร่วมกันเลย ซึ่งหากว่ามีการกระจายอำานาจแล้ว ย่อมส่งผลให้ภารกิจในการดูแลระบบสาธาณูปโภค สาธารณูปการ
             เหล่านั้น ได้รับการถ่ายโอนมาอยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงหน่วยงานเดียว

             ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ การดำาเนินการของหน่วยจัดทำาสาธารณูปโภค สาธารณูปการก็จะได้รับการวางแผนและ
             ประสานการทำางานร่วมกัน ทำาให้ไม่เกิดการทำางานที่ซำ้าซ้อนและความสิ้นเปลืองในการใช้ทรัพยากร


                      ข้อที่สี่ ความคุ้มค่าและประหยัด (Economy) การกระจายอำานาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
             ย่อมทำาให้เกิดการจ้างงานบุคลากรในท้องถิ่น รวมทั้งมีการนำาเอาทรัพยากรอื่นๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิด

             ประโยชน์สูงสุด ซึ่งหากเปรียบเทียบกับการที่บริการสาธาณะรวมศูนย์ดำาเนินการโดยส่วนกลางแล้ว เราย่อมเห็นว่า

             การที่ส่วนกลางเป็นผู้จัดบริการสาธารณะเองนั้น ส่วนกลางย่อมต้องส่งบุคลากร รวมทั้งเครื่องไม้ เครื่องมือ
             อุปกรณ์ต่างๆ มาจากส่วนกลางทำาให้เกิดค่าใช้จ่ายบางอย่างเพิ่มขึ้น เช่น ค่าเดินทาง ค่าขนส่ง เบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าบ้าน
             ซึ่งโดยรวมอาจทำาให้ต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการจัดบริการสาธารณะนั้นเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น การกระจายอำานาจ

             สู่ท้องถิ่นย่อมมีส่วนช่วยให้เกิดการใช้ทรัพยากรต่างๆ ภายในท้องถิ่นทำาให้เกิดความประหยัดได้มากกว่า


                      ข้อที่ห้า ภาพสะท้อนทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นจริง (Social and Economic Realism)

             การกระจายอำานาจสู่ท้องถิ่นย่อมมีส่วนช่วยให้เกิดการเลือกคนจากท้องถิ่นให้เป็นผู้บริหารหรือสมาชิกสภาท้องถิ่น
             รวมทั้งทำาให้ประชาชนภายในท้องถิ่นสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจหรือบริหารงานได้มากยิ่งขึ้น
             ซึ่งเมื่อเป็นดังนี้แล้วการตัดสินใจและการดำาเนินการในเรื่องต่างๆ ของท้องถิ่นก็จะกระทำาโดยคนจากท้องถิ่น

             ที่ย่อมมีมุมมองและความเข้าใจในสภาพปัญหาของท้องถิ่นได้ดีกว่าคนที่มาจากส่วนกลาง การตัดสินใจในการ

             ดำาเนินโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ ในพื้นที่ ก็ย่อมมีความสอดคล้องตรงกับปัญหาที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นได้มากกว่า
             รวมถึงวิธีการในการดำาเนินการก็ย่อมเป็นวิธีการหรือแนวทางที่สอดคล้องต่อวิถีชีวิตของผู้คนภายในท้องถิ่น
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27