Page 24 - kpiebook63023
P. 24

24    ชุดวิชำ แนวคิดพื้นฐำนเกี่ยวกับกำรกระจำยอ�ำนำจและกำรปกครองท้องถิ่น








                      ในมิติทางด้านเศรษฐศาสตร์และการคลัง ปัญหาที่สำาคัญ ประการแรก สืบเนื่องจากองค์กรปกครอง

             ส่วนท้องถิ่นโดยส่วนใหญ่มักไม่มีแหล่งรายได้จากท้องถิ่นของตนเองที่พอเพียง เราจึงมักพบปรากฏการณ์ที่องค์กร
             ปกครองส่วนท้องถิ่นต้องกู้ยืมเงินจากแหล่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสถาบันทางการเงินหรือจากประชาชนภายใน

             ท้องถิ่นผ่านการออกพันธบัตรของท้องถิ่นก็ตาม ซึ่งในท้ายที่สุดแล้ว การกู้ยืมเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
             ดังกล่าวย่อมถือเป็นการก่อหนี้สาธารณะ ซึ่งรัฐบาลกลางเองก็ต้องมีส่วนในการร่วมรับผิดชอบหนี้สาธารณะนั้น

             และหากว่าภาระหนี้สาธารณะดังกล่าวมีเป็นจำานวนมาก ก็อาจส่งผลต่อเสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
             และการคลังของประเทศโดยรวมได้ในที่สุด (Grindle, 2007, p. 8)


                      ประการที่สอง ถึงแม้ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะไม่สามารถจัดหาแหล่งรายได้ที่พอเพียงสำาหรับ

             ตนเองในการบริหารกิจการที่ตนเองนั้นรับผิดชอบก็ตาม แต่ทว่าในทางปฏิบัติ เราก็มักเห็นว่าองค์กรปกครอง
             ส่วนท้องถิ่นก็ยังคงไม่มีความกระตือรือร้นในการแสวงหาหรือจัดเก็บรายได้จากแหล่งใหม่ๆ เพื่อให้ตนเอง

             มีงบประมาณที่เหมาะสมสำาหรับการจัดบริการสาธารณะต่างๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
             โดยส่วนใหญ่ยังคงมีความคาดหวังและยังอาจถึงขั้นเรียกร้องให้รัฐบาลกลางต้องพิจารณาจัดสรรงบประมาณ

             ต่างๆ มาให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อให้ตนเองมีงบประมาณที่เพียงพอ
             ในการจัดบริการสาธารณะ (Grindle, 2007, p.8)


                      สำาหรับในมุมมองทางด้านการเมืองแล้ว แม้ว่าการกระจายอำานาจจะเป็นสิ่งที่ได้รับการยอมรับ
             อย่างกว้างขวางว่าจะมีส่วนในการหนุนเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยให้มีความมั่นคงและเข้มแข็ง

             มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันการกระจายอำานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็อาจก่อให้เกิดปัญหาทาง

             ด้านการเมืองได้เช่นเดียวกัน กล่าวคือ ประการแรก เมื่อมีการกระจายอำานาจลงสู่ท้องถิ่นแล้ว ก็ย่อมต้องมีการ
             จัดเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อมีการกระจายอำานาจลงสู่ท้องถิ่น บริบทต่างๆ ของท้องถิ่น
             ย่อมเปลี่ยนแปลงไป เช่น มีทรัพยากรด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณ หรือบุคลากรที่เพิ่มขึ้น ตลอดรวมถึง

             บทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งบริบทของท้องถิ่นที่เปลี่ยนแปลงไปเช่นนี้เอง

             ที่ยังผลทำาให้การแข่งขันทางการเมืองภายในท้องถิ่นมีการแข่งขันที่รุนแรง อันอาจนำาไปสู่สภาพของความขัดแย้ง
             และการใช้ความรุนแรงได้ในที่สุด (Grindle, 2007, pp. 8-9) ปรากฏการณ์ดังกล่าวมานี้เคยเกิดขึ้นกับท้องถิ่น
             ของไทยเราเองในช่วงหลังการกระจายอำานาจและการปฏิรูประบบการปกครองท้องถิ่นของไทยในช่วงหลังปี

             พ.ศ. 2535 ต่อเนื่องถึงปี พ.ศ. 2540 กล่าวคือ ในช่วงเวลาดังกล่าวการแข่งขันทางการเมืองในระดับท้องถิ่น

             มีการแข่งขันที่รุนแรง และในหลายพื้นที่ยังมีการใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องชี้ขาดการต่อสู้ทางการเมืองของ
             กลุ่มการเมืองต่างๆ อีกด้วย


                      ประการที่สอง ในความเป็นจริงแล้ว การกระจายอำานาจลงสู่ท้องถิ่นอาจมิได้ก่อให้เกิดการแข่งขัน
             ทางการเมืองที่รุนแรงเสมอไป ในทางกลับกันในบางพื้นที่การแข่งขันอาจไม่ได้เกิดขึ้น แต่อาจกลายเป็นการผูกขาด

             ทางการเมืองของบางพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมือง ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการไม่มีคู่แข่งขันทางการเมืองใน

             ท้องถิ่นนั้นๆ หรือมิเช่นนั้นสภาพการผูกขาดทางการเมืองที่ว่าอาจเป็นผลมาจากการใช้อิทธิพลในการข่มขู่
             มิให้มีผู้สมัครรายอื่น ก็ล้วนมีความเป็นไปได้ทั้งสิ้น (Grindle, 2007, pp. 8-9) ในกรณีนี้ เราอาจจะสังเกต
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29