Page 12 - kpiebook63023
P. 12
12 ชุดวิชำ แนวคิดพื้นฐำนเกี่ยวกับกำรกระจำยอ�ำนำจและกำรปกครองท้องถิ่น
การกระจายอำานาจที่หมายถึงการถ่ายโอนอำานาจดังที่กล่าวมานี้ จะช่วยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
มีความเป็นอิสระ (Autonomy) ในการตัดสินใจหรือดำาเนินการในเรื่องต่างๆ ได้เองตามที่รัฐบาลกลางได้กำาหนด
โดยอาจมีการบัญญัติเป็นกฎหมาย หรืออาจจะมีการจัดทำาเป็นแผนและขั้นตอนในการดำาเนินการถ่ายโอนภารกิจ
และอำานาจหน้าที่ ดังเช่น ในกรณีของประเทศไทย ที่มีการตราเป็นพระราชบัญญัติกำาหนดแผนและขั้นตอน
การกระจายอำานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 รวมไปถึงมีการจัดทำาแผนและแผนปฏิบัติ
การกระจายอำานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายหลังการปฏิรูปการเมืองและการปกครองท้องถิ่น
ครั้งใหญ่ในช่วงหลังปี พ.ศ. 2540 เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม การกระจายอำานาจที่หมายถึง “การถ่ายโอนอำานาจ” ในที่นี้ มักเป็นกระบวนการ
ถ่ายโอนอำานาจของโครงสร้างฝ่ายบริหาร หรือ “รัฐบาล” ไปให้แก่ประชาชนหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
หลักการสำาคัญของการถ่ายโอนอำานาจ จึงยึดหลักการที่ว่าอำานาจนั้นเป็นอำานาจของฝ่ายบริหารหรือรัฐบาล
ที่พิจารณาถ่ายโอนไปให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนภายในท้องถิ่น องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ที่รับโอนอำานาจเหล่านั้นมาจากรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลอาจพิจารณาเพื่อทบทวนภารกิจหรืออำานาจ
หน้าที่ที่ถ่ายโอนไปให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ตลอดเวลา โดยอาจมีการพิจารณาถ่ายโอนอำานาจหน้าที่
ไปให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มเติม หรือย่อมสามารถเรียกคืนอำานาจหน้าที่บางอย่างที่ได้เคยถ่ายโอน
ลงไปกลับคืนได้ทุกเมื่อ แม้ว่าในความเป็นจริงอาจเป็นเรื่องที่ทำาได้ยากก็ตาม
ดังนั้น ภายใต้หลักการเช่นว่านี้ เราจะต้องตระหนักว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่แม้จะมี
ความเป็นอิสระเพียงใดก็ตาม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของรัฐนั้นๆ เสมอ และด้วยเหตุนี้
รัฐบาลจึงยังคงต้องมีหน้าที่ในการกำากับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ใช้อำานาจที่ได้รับการถ่ายโอนลงไปอย่างเหมาะสมและชอบด้วยกฎหมาย รวมทั้งมีการจัดบริการสาธารณะที่
มีคุณภาพและได้มาตรฐาน อันจะทำาให้เกิดความเสมอภาคระหว่างประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ขององค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นที่แตกต่างกัน รัฐบาลอาจมีเครื่องมือหรือกลไกที่หลากหลายสำาหรับการกำากับดูแลองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น ที่สำาคัญ ได้แก่ การใช้เครื่องมือทางด้านกฎหมาย การใช้เครื่องมือทางด้านการคลังผ่าน
การให้เงินอุดหนุน การใช้เครื่องมือทางด้านการบริหารผ่านทางระเบียบ แนวปฏิบัติ หรือมาตรฐานกลางใน
เรื่องต่างๆ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม โดยหลักการแล้ว การกำากับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของรัฐบาล
พึงกระทำาเท่าที่จำาเป็นเท่านั้น เพราะหากว่าการกำากับดูแลเป็นไปอย่างเคร่งครัดแล้ว ก็จะส่งผลกระทบต่อ
ความเป็นอิสระขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งถือเป็นเงื่อนไขสำาคัญของการกระจายอำานาจและการจัด
การปกครองท้องถิ่น
ในกรณีของประเทศไทย การกระจายอำานาจที่หมายถึงการถ่ายโอนอำานาจนี้ ได้กลายเป็นหลัก
การหรือแนวคิดที่สำาคัญสำาหรับการจัดการปกครองท้องถิ่นนับตั้งแต่ในช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ในปี พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา ด้วยมุ่งหวังว่าการกระจายอำานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเป็นเครื่อง
มือที่สำาคัญที่ช่วยให้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยนั้นมีความเจริญงอกงาม ทั้งนี้ในปัจจุบัน การปกครอง
ท้องถิ่นของไทยประกอบไปด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำาบล กรุงเทพมหานคร
และเมืองพัทยา ซึ่งการศึกษาในส่วนหน้าจะได้กล่าวถึงโครงสร้างเหล่านี้ต่อไป