Page 45 - kpiebook63019
P. 45
40
เพื่อให้ได้มาตรฐานในการสร้างคุณธรรมในการบริหารงานภาครัฐมีสมาชิกรัฐสภากลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้เพื่อการต่อต้านการทุจริต (SEAPAC) เป็นสมาชิก ซึ่งหนึ่งในนั้นมี ประเทศไทย ซึ่งถือเป็นประเทศ
สมาชิกผู้ตั้งองค์กร SEAPAC อยู่ด้วย
(8) รัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก [Asia Pacific Parliamentary Forum –
(APPF)] 33
การประชุมรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก (Asia Pacific Parliamentary
Forum - APPF) เป็นองค์กรการประชุมของสมาชิกรัฐสภาในภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดย
การริเริ่มของนายยาซูฮิโร นากาโซเน่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและอดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ร่วมกับสมาชิก
รัฐสภาของประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจำนวนหนึ่ง รวมทั้งประเทศไทยมีวัตถุประสงค์ให้สมาชิกรัฐสภา
ได้หารือร่วมกันในประเด็นปัญหาต่าง ๆ ของภูมิภาคในยุคหลังสงครามเย็น และที่เป็นผลจากการเติบโต และ
การรวมตัวทางเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกภูมิภาค กับส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย สิทธิเสรีภาพของ
พลเมืองและสันติภาพภายในภูมิภาค
(9) สมาชิกรัฐสภาเอเชียและแปซิฟิกว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา [The General
Assembly of the Asia Pacific Parliamentarians’ Conference on Environment and
Development – (APPCED)] 34
การประชุม APPCED เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามของสังคมโลก ในการลด
ปัญหามลภาวะทางสิ่งแวดล้อม รักษาสมดุลทางนิเวศวิทยา และให้ได้มาซึ่งการพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับประเทศไทย
ได้รับเป็นเจ้าภาพจัดประชุม APPCED ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) ณ จังหวัดภูเก็ต และครั้งที่ 7
ในปี พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) ณ จังหวัดเชียงใหม่
2.4 การประยุกต์ใช้แบบประเมินสหภาพรัฐสภาของไทย
ตามเกณฑ์ตัวชี้วัดของสหภาพรัฐสภา
สถาบันพระปกเกล้า ได้ดำเนินการประเมินรัฐสภาตามตัวแบบเกณฑ์ชี้วัดของสหภาพรัฐสภามาแล้ว
2 ครั้ง โดยมีผลการศึกษาดังนี้
33 สรุปจาก การประชุมรัฐสภาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก (Asia Pacific Parliamentary Forum - APPF)” รัฐสภาระหว่าง
ประเทศ, สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ,2552, สืบค้นจากhttps://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/
parliament_parcy/ewt_w3c/ewt_news.php?nid=14487&filename=
34
การประชุมสมาชิกรัฐสภาเอเชียและแปซิฟิก ว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (The General Assembly of the Asia
Pacific Parliamentarians’ Conference onEnvironment and Development - APPCED) รัฐสภาระหว่างประเทศ, สำนัก
เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2552, สืบค้นจาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_w3c/
ewt_news.php?nid=14493&filename=
การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)