Page 49 - kpiebook63019
P. 49

44






                           ในด้านความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นและการติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรัฐสภานั้น

               กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจบทบาทหน้าที่ของ ส.ส. ในรัฐสภามากที่สุด (คิดเป็นร้อยละ 58.3) รองลงมาคือเข้าใจ
               บทบาทหน้าที่ของ ส.ว. ในรัฐสภา (ร้อยละ 53.2) ร้อยละ 46.4 มีการติดตามผลการทำงานของ ส.ส.

               ของประเทศหรือภาพรวมอย่างสม่ำเสมอ และมีการติดตามจากการดำเนินงานของรัฐสภาจากสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ
               เช่น หนังสือพิมพ์ มากที่สุด (คิดเป็นร้อยละ 42.2) รองลงมา ได้แก่ วิทยุ (ร้อยละ 34.3) โทรทัศน์ (ร้อยละ
               33.2) และอินเตอร์เน็ตหรือสื่ออื่น ๆ (ร้อยละ 23.4) ตามลำดับ


                           ผลการสำรวจความไว้วางใจในการปฏิบัติงานของรัฐสภา จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
               ประชาชนให้คะแนนความไว้วางใจอยู่ในระดับปานกลาง (คะแนนเฉลี่ย 5.99) โดยภาคใต้ให้คะแนน

               ความไว้วางใจสูงที่สุด (6.39) รองลงมาคือ ภาคเหนือ ( 6.10) ภาคกลาง ( 5.98) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
               (5.93) และกรุงเทพมหานคร (5.55) ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบคะแนนความไว้วางใจในการปฏิบัติงาน

               ของ ส.ส. และ ส.ว. พบว่าประชาชนทุกภาคมีความไว้วางใจต่อ ส.ส. สูงกว่า ส.ว. เล็กน้อย ยกเว้นประชาชน
               ในเขตกรุงเทพมหานคร จากการสำรวจความเชื่อมั่นในภาพรวมของรัฐสภา พบว่าประชาชนร้อยละ 63.0
               เชื่อมั่นและค่อนข้างเชื่อมั่นต่อการทำงานของนายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) รองลงมาคือต่อรัฐบาล/

               คณะรัฐมนตรี (ร้อยละ 55.5) ต่อ ส.ส. (ร้อยละ 52.6) ต่อ ส.ว. (ร้อยละ 50.9) และต่อพรรคการเมือง (ร้อยละ
               48.3) หรืออาจสรุปได้ว่าประชาชนเกินครึ่งเชื่อมั่นต่อการทำหน้าที่ของรัฐสภาในภาพรวม ยกเว้นประเด็น

               พรรคการเมือง

                           จากการศึกษาครั้งนั้น คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะทั้งด้านนโยบายและมาตรการด้านกฎหมาย
               ข้อเสนอแนะด้านบริหาร และข้อเสนอแนะเพื่อการศึกษาวิจัย ที่สำคัญคือรัฐสภาควรมี ได้แก่

                            1) นโยบายด้านการปฏิรูประบบรัฐสภาและสถาบันการเมือง
                            2) นโยบายด้านการตรวจสอบฝ่ายบริหาร
                           3) นโยบายการปรับปรุงกรอบแนวคิดและกระบวนการออกกฎหมาย

                           4) นโยบายด้านการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน
                           5) นโยบายด้านการเสริมสร้างความสำนึกรับผิดชอบของรัฐสภา และ

                           6) นโยบายด้านความโปร่งใสในการทำงานของรัฐสภา

                     2.4.2  การประเมินการดำเนินงานของรัฐสภาไทยตามเกณฑ์และตัวชี้วัด
                             ของสหภาพรัฐสภา พ.ศ.2556         36


                           การประเมินการดำเนินงานของรัฐสภาตามเกณฑ์และตัวชี้วัดของสหภาพรัฐสภาดังกล่าว
               เป็นการวิจัยประเมินผล (Evaluation Research) เพื่อประเมินรัฐสภาไทยอันนำไปสู่การยกระดับประสิทธิภาพ



               
     36   สรุปจาก สถาบันการเมืองกับการพัฒนาประชาธิปไตย: การดำเนินงานของรัฐสภาตามเกณฑ์และตัวชี้วัดของสหภาพรัฐสภา
               (IPU), เล่มเดิม, และ การประเมินการดำเนินงานของรัฐสภาตามเกณฑ์และตัวชี้วัดของสหภาพรัฐสภา-Assessment of Thai
               Parliament on ของ Inter-Parliamentary Union (IPU) (2559) โดย จาก ถวิลวดี บุรีกุล, มาณวิภา อินทรทัต, ภาคภูมิ ฤกขะเมธ,
               ศรีสุวรรณ พยอมยงค์, นิตยา โพธิ์นอก, รัชวดี แสงมหะหมัด,...สกล สิทธิกัน, (2559), วารสารราชภัฎสุราษฎร์ธานี, ปีที 3 ฉบับที่ 1
               (มกราคม-มิถุนายน)  น.105-128. ลิขสิทธิ์ โดยมหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี






            การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54