Page 44 - kpiebook63019
P. 44
39
ถึงข้อเสนอต่าง ๆ ในการปรับเปลี่ยนองค์กรจาก AAPP ไปสู่ APA โดยในที่สุด ที่ประชุมได้ประกาศให้
การประชุมสมัชชาใหญ่ AAPP ครั้งที่ 7 เป็นการประชุม APA ครั้งปฐมฤกษ์อีกด้วย
รัฐสภาไทยถือได้ว่าเป็นหนึ่งในประเทศผู้ร่วมก่อตั้ง AAPP ซึ่งมีส่วนเสริมสร้างและ
ผลักดันให้สามารถปรับเปลี่ยน AAPP เป็น APA ได้เป็นผลสำเร็จ โดยที่ผ่านมา รัฐสภาไทยได้ส่งผู้แทนเข้าร่วม
การประชุมสมัชชาใหญ่ และการประชุมคณะมนตรี-บริหารของ AAPP และ APA ตลอดจนรับเป็นเจ้าภาพ
จัดการประชุม AAPP ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 19-24 พฤศจิกายน 2548 ณ เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี และ
การประชุมการทำกฎหมายร่วมกัน (Workshop on Common Legislation) เมื่อเดือนมิถุนายน 2550
ณ กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่จะเสริมสร้างการบูรณาการให้ APA เป็นองค์กรที่มีความเข้มแข็ง
มากยิ่งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม เสรีภาพ ความยุติธรรมทางสังคม สันติภาพ มิตรภาพและความมั่นคง
อย่างเท่าเทียมกัน เพื่อแบ่งปันความรู้อันหลากหลาย และส่งเสริมความรู้ในกลุ่มสมาชิก เพื่อให้เกิด
ความก้าวหน้า เพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและมนุษย์ อย่างร่วมมือกัน และรักษาไว้ซึ่ง
ผลประโยชน์ของสมาชิกทั้งหมด รวมทั้ง ตระหนักถึงอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมาอย่างถาวร ในการใช้ทรัพยากร
ดังกล่าว เพื่อจัดหาสวัสดิการ ด้านสุขภาพและโภชนาการของประชากรในกลุ่มประเทศสมาชิก และเพื่อให้เกิด
การมีส่วนร่วมในการบูรณการกลุ่มประเทศในเอเชีย เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของภูมิภาค
(6) สมาคมสมาชิกรัฐสภาระหว่างประเทศด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ [International
Parliamentarians’ Association for Information Technology – (IPAIT)] 30
สมาคมสมาชิกรัฐสภาระหว่างประเทศด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เกิดจากแนวความคิด
ร่วมกันของสมาชิกรัฐสภาสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐเกาหลี สหรัฐอเมริกา และไทย ซึ่งมีความสนใจ
ในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของรัฐสภา โดยมีวัตถุประสงค์หลักตามกฎบัตรของ IPAIT เพื่อสนับสนุน
การพัฒนาเทคโนโลยี สารสนเทศในระดับสมาชิกรัฐสภา เพื่อให้บรรลุผลการพัฒนาที่สมดุลของเทคโนโลยี
สารสนเทศ รวมทั้งเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกโดยการประชุม IPAIT
ซึ่งประเทศไทย ก็เป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งด้วย จากนั้นรัฐสภาไทยรับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม IPAIT
ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 16–19 พฤษภาคม 2547 ณ กรุงเทพมหานครด้วย
(7) องค์การสมาชิกรัฐสภานานาชาติเพื่อการต่อต้านการทุจริต [Global
Organization of Parliamentarians Against Corruption – (GOPAC)] 32
เป็นองค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ การให้สมาชิก
รัฐสภาและบุคคลอื่น ๆ มาทำงานร่วมกันเพื่อการต่อต้านการทุจริตและส่งเสริมความโปร่งใสและการตรวจสอบ
31 สรุปจาก สมาคมสมาชิกรัฐสภาระหว่างประเทศด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (International Parliamentarians
Association for Information Technology - IPAIT), รัฐสภาระหว่างประเทศ, สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2552, สืบค้นจาก
https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_w3c/ewt_news.php?nid=14347&filename=
32
องค์การสมาชิกรัฐสภานานาชาติเพื่อการต่อต้านการทุจริต (Global Organization of Parliamentarians Against
Corruption – GOPAC)” รัฐสภาระหว่างประเทศ, สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2552, สืบค้นจาก https://www.
parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_w3c/ewt_news.php?nid=14421&filename=
การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)