Page 43 - kpiebook63019
P. 43

38






                     
 
 
       (4) สมาคมเลขาธิการรัฐสภา [Association of Secretaries General of

                                     30
               Parliaments – (ASGP)]
                                     สมาคมเลขาธิการรัฐสภาเป็นองค์กรความร่วมมือของเลขาธิการรัฐสภานานาชาติ

               ซึ่งมีภารกิจที่สำคัญ คือการเรียนรู้กฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ และกระบวนการของรัฐสภา การพัฒนาระบบ
               รัฐสภาให้มีความก้าวหน้าและเข้มแข็ง รวมทั้งการให้ความรู้เกี่ยวกับระบบรัฐสภาแก่บุคลากรในวงงานรัฐสภา

               และสาธารณชนทั่วไป และการให้ความร่วมมือระหว่างสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาด้วยกัน การดำเนินงาน
               ที่สำคัญของสมาคมเลขาธิการรัฐสภาคือ การแลกเปลี่ยนเอกสารและข้อมูลเกี่ยวกับรัฐสภานานาประเทศ และ
               จัดทำเอกสารความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญและรัฐสภา โดยมีลักษณะเป็นกึ่งรายงานการศึกษา ซึ่งจะเป็นเอกสาร

               พื้นฐานของการค้นคว้าด้านรัฐสภาศึกษาในขั้นสูงต่อไป

                                     สมาคมเลขาธิการรัฐสภา ประกอบด้วย เลขาธิการรัฐสภา  และรองเลขาธิการ
               รัฐสภา ในกรณีที่เลขาธิการรัฐสภาหรือรองเลขาธิการรัฐสภาไม่สามารถเข้าร่วมในการดำเนินงานต่าง ๆ ของ

               สมาคมฯ โดยตรงหรือโดยอ้อมได้ สมาคมฯ อาจจะพิจารณารับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐสภาที่เลขาธิการ
               รัฐสภานั้น เสนอเป็นสมาชิกของสมาคมฯ ได้ แต่ทั้งนี้ แต่ละสภาจะมีผู้แทนซึ่งเป็นสมาชิกสมาคมฯ พร้อมกันได้

               ไม่เกิน  2  คน

                                     ในปัจจุบัน สมาคมเลขาธิการรัฐสภามีประเทศสมาชิกจำนวน 132 ประเทศ โดยทุก

               ประเทศในอาเซียนเป็นสมาชิกสมาคมฯ ทั้งสิ้น ยกเว้นบรูไนดารุสซาลาม และสหภาพพม่า ส่วนประเทศในแถบ
               ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและภูมิภาคอื่น ๆ ล้วนเป็นสมาชิกสมาคมฯ เช่นกัน


                     
 
         (5)  สมัชชารัฐสภาเอเชีย [Asian Parliamentary Assembly – (APA)]

                                     เนื่องในโอกาสครบรอบปีที่ 50 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้
               ยังได้เกิดแนวโน้มในภูมิภาคเกี่ยวกับการส่งเสริมกระบวนการด้านประชาธิปไตยและหลักธรรมาภิบาล ตลอดจน

               จิตวิญญาณที่จะสร้างสันติภาพและความร่วมมือของภูมิภาคเอเชียทั้งหมด ประเทศ ต่าง ๆ จำนวน 36 ประเทศ
               และตัวแทนจากองค์กรประชาสังคมหลายองค์กรจึงได้ร่วมกันจัดการประชุมขึ้น ณ กรุงธากา สาธารณรัฐ-
               ประชาชนบังกลาเทศ เมื่อช่วงต้นเดือนกันยายน 2542 เพื่อจัดตั้งสมาคมรัฐสภาเอเชียเพื่อสันติภาพ

               (Association of Asian Parliaments for Peace – AAPP) ขึ้น โดย AAPP มีการประชุมเรื่อยมา และได้มี
               การตั้งคณะทำงานเป็นคณะผู้ทรงคุณวุฒิ (Expert Panel) ซึ่งอยู่ภายใต้คณะมนตรีที่ปรึกษาอาวุโส (Senior

               Advisory Council) ของ AAPP เพื่อศึกษาหาแนวทาง (Roadmap) ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งและ
               ยกระดับองค์กรไปสู่การเป็นสมัชชารัฐสภาเอเชีย (Asian Parliamentary Assembly – APA) จนเมื่อ
               การประชุมสมัชชาใหญ่ AAPP ครั้งที่ 7 ณ กรุงเตหะราน สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน ปี พ.ศ. 2549

               ได้มีการประชุมคณะมนตรีที่ปรึกษาอาวุโสขึ้นในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2549 และที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณา


               
     30   สรุปจาก สมาคมเลขาธิการรัฐสภา (Association of Secretaries General of Parliaments - ASGP), รัฐสภาระหว่าง
               ประเทศ, สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2552, สืบค้นจาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/
               parliament_parcy/ewt_w3c/ewt_news.php?nid=14334&filename=








            การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48