Page 38 - kpiebook63019
P. 38
33
ก. ระดับปัจเจก
(1) ความสำนึกรับผิดชอบแบบแนวตั้ง
(1.1) การแสดงจิตสำนึกความรับผิดชอบของรัฐสภา
ปัจจัยส่งเสริมการมีจิตสำนึกความรับผิดชอบของรัฐสภาต่อประชาชน ก็คือ
- การเปิดเผยข้อมูลกิจการหรือการดำเนินงานของรัฐสภาต่อประชาชน และ
- การเข้าถึงของประชาชนในการรับรู้การดำเนินงานของสมาชิกรัฐสภา
(1.2) การเรียกร้องให้ถอดถอนสมาชิกรัฐสภาของประชาชน
เนื่องจากกลไกกระบวนการเลือกตั้งมีผลทำให้สมาชิกรัฐสภารับผิดชอบต่อ
ประชาชนอาจไม่เพียงพอ ดังนั้นบางประเทศจึงเพิ่มกลไกการถอดถอนสมาชิกรัฐสภาได้ในเงื่อนไขต่าง เช่น
การถอดถอนจากตำแหน่งโดยวุฒิสภาของสหรัฐอเมริกา หรือกลไกการถอดถอนจากตำแหน่งของไทย ที่เคย
กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 และ 2550
(2) ความสำนึกรับผิดชอบในแนวนอน
(2.1) หลักการและประมวลจริยธรรมของสมาชิกรัฐสภา
คณะกรรมาธิการพิเศษคณะหนึ่งจะทำหน้าที่แทนปวงชนในการกำกับดูแล
จริยธรรมของสมาชิกรัฐสภาตามประมวลจริยธรรมของสมาชิกรัฐสภา โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการเงิน การใช้
ตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน การใช้ค่าตอบแทนไปเพื่อประโยชน์ตน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม พบว่าการบังคับใช้ประมวลจริยธรรมของนักการเมืองไม่ค่อยได้ผลเนื่องจากประเด็นร้องเรียนหรือ
ข้อกล่าวหาไม่สามารถหาข้อยุติได้ว่าถูกหรือผิด เพราะลักษณะการกระทำมันก้ำกึ่งกันระหว่าง “ถูก” กับ “ผิด”
หรือเรียกว่า “พื้นที่สีเทา”
(2.2) การขัดการแห่งผลประโยชน์
เนื้อหาหลักของหลักการและประมวลจริยธรรมของสมาชิกรัฐสภาก็คือ
ประเด็นเรื่องผลประโยชน์ของชาติกับผลประโยชน์ส่วนตนซึ่งเป็นรากฐานของระบอบประชาธิปไตย สมาชิก
รัฐสภาได้รับการเลือกตั้งเข้ามาจะต้องทำหน้าที่เพื่อปวงชนและสาธารณะ มิใช่เข้ามากอบโกยความมั่งคั่งเพื่อตน
และพวกพ้อง โดยมีมาตรการเช่น สมาชิกรัฐสภาจะต้องแจ้งและเปิดเผยรายการบัญชีทรัพย์สินของตน ที่มาของ
รายได้ต่อสาธารณะ
(2.3) การเข้าร่วมประชุมรัฐสภา
ตามประมวลจริยธรรมของสมาชิกรัฐสภาจะเน้นประเด็นเกี่ยวกับการเงินและ
ผลประโยชน์ทับซ้อน แต่ประเด็นหนึ่งที่สร้างความไม่พึงพอใจให้กับประชาชนก็คือ การเข้าร่วมประชุมรัฐสภา
การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)