Page 37 - kpiebook63019
P. 37
32
ประชุมรัฐสภาศรีลังกาจะสำรองเวลาสัปดาห์ที่สองและที่สี่ของเดือนสำหรับพบปะประชาชน สภาผู้แทนราษฎร
และวุฒิสภาของประเทศชิลีจะทำงานในรัฐสภาสัปดาห์ที่หนึ่งถึงที่สาม ส่วนสัปดาห์ที่สี่ก็จะไปประกอบภารกิจ
ในพื้นที่
(2) การใช้อีเมล เป็นวิธีที่สะดวก ง่ายและรวดเร็ว และสามารถติดต่อสัมพันธ์กับ
ประชาชนเป็นวงกว้าง เสียค่าใช้จ่ายน้อย อุปสรรคที่เกิดขึ้นก็คืออีเมลรัฐสภามีข้อความล้น วิธีแก้ไข คือ
- การจัดทำระบบการคัดเลือก เก็บข้อความ และแจ้งตอบอัตโนมัติ (automatic
reply)
- การแนะนำให้ประชาชนติดต่อสมาชิกรัฐสภาด้วยการส่งจดหมายร้องเรียน หรือ
รัฐสภาอาจจะทำแบบฟอร์มร้องเรียน
(3) สิ่งอำนวยความสะดวกของรัฐสภา อาทิ การจัดตั้งสำนักงานรัฐสภาสาขา เพื่ออำนวย
ความสะดวกให้แก่สมาชิกรัฐสภาในการรับเรื่องราวร้องทุกข์ของประชาชนในเขตเลือกตั้ง และใช้เป็นพื้นที่
ในการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการออกกฎหมาย ทั้งนี้ การใช้ช่องทางการสื่อสารกับประชาชนและ
การมีส่วนร่วมของประชาชนจะมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อสมาชิกรัฐสภาจะต้องมีความซื่อตรงหรือมีธรรมอยู่ในใจ
(4) การพัฒนาท้องถิ่น อาทิ การช่วยท้องถิ่นพัฒนาและจัดทำโครงการที่ประชาชน
ต้องการ เช่น การจัดหาน้ำสะอาดและการจัดหาความต้องการด้านสุขาภิบาล การสร้างโครงสร้างพื้นฐาน การช่วย
ประชาชนหาเงินสนับสนุนโครงการ การให้ความร่วมมือกับเอ็นจีโอในการพัฒนาท้องถิ่น การร้องขอหน่วยงาน
(กระทรวง ทบวงและกรม) จัดสรรงบประมาณให้แก่ท้องถิ่น เป็นต้น
2.3.5 ความสำนึกรับผิดชอบของรัฐสภา 25
ความสำนึกรับผิดชอบประกอบด้วยความสำนึกรับผิดชอบแนวตั้ง (Vertical accountability)
และความสำนึกรับผิดชอบแนวนอน (Horizontal accountability)
ความสำนึกรับผิดชอบแนวตั้งของรัฐสภา คือ การมีจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อประชาชน
กลไกทำหน้าที่ควบคุมความสำนึกรับผิดชอบของสมาชิกรัฐสภา คือ การเลือกตั้ง กระบวนการร้องเรียนของ
ประชาชน การแสดงออกไม่เห็นด้วยหรือต่อต้านในรูปกิจกรรมต่าง ๆ ของภาคประชาสังคม ในขณะที่ความสำนึก
รับผิดชอบแนวนอนของรัฐสภา คือ การมีจิตสำนึกความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะตัวแทนของ
ประชาชน องค์กรหรือหน่วยงานติดตามตรวจสอบจะทำหน้าที่ติดตามตรวจสอบพฤติกรรมหรือการกระทำของ
สมาชิกรัฐสภา
รัฐสภาจะต้องมีจิตสำนึกความรับผิดชอบทั้ง 2 แบบ คือ ทั้งความสำนึกรับผิดชอบแนวตั้งและ
แนวนอน (Vertical และ Horizontal accountability)
25 แหล่งเดิม, (น. 2-43– 2-45)
การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)