Page 32 - kpiebook63019
P. 32
27
2.3.2 การตรวจสอบฝ่ายบริหาร 23
หน้าที่ตรวจสอบการดำเนินงานหลักของรัฐบาล รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ ก็คือ (1) การตรวจสอบ
นโยบายและการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล (2) การตรวจสอบงบประมาณรายจ่ายและการควบคุม
การเงิน สำหรับช่องทางและรูปแบบการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล พอสรุปได้ดังนี้
(ก) ช่องทางหรือวิธีการตรวจสอบฝ่ายบริหารของรัฐสภา
(1) การตรวจสอบฝ่ายบริหารผ่านระบบคณะกรรมาธิการรัฐสภา
(1.1) โครงสร้างระบบคณะกรรมาธิการรัฐสภา
วิธีการที่รัฐสภาทั่วโลกใช้ในการตรวจสอบฝ่ายบริหารก็คือการทำงานผ่าน
ระบบคณะกรรมาธิการรัฐสภา ซึ่งมีการจัดตั้งขึ้นหลายคณะเพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างของหน่วยงานภาครัฐ
คณะกรรมาธิการเหล่านี้จะทำหน้าที่ติดตามตรวจสอบงานนโยบายของฝ่ายบริหาร ยิ่งไปกว่านี้รัฐสภาของ
สมาชิกหลายประเทศยังมีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมระหว่างสภาผู้แทนราษฎรกับวุฒิสภา
(1.2) อำนาจของคณะกรรมาธิการ
เพื่อให้คณะกรรมาธิการตรวจสอบอำนาจฝ่ายบริหารได้อย่างมีประสิทธิผล
คณะกรรมาธิการจำเป็นต้องมีอำนาจในการเชิญรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐมาให้ข้อมูลและ
ตอบข้อซักถามของคณะกรรมาธิการ พร้อมส่งมอบเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ข้อจำกัดของคณะกรรมาธิการในการเข้าถึงข้อมูลก็คือ กฎหมายเกี่ยวกับ
การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารให้ข้อยกเว้นกรณีที่ข้อมูลอยู่ในชั้นของความลับ การแก้ไขข้อจำกัดนี้ก็คือ
คณะกรรมาธิการจัดให้มีการประชุมเป็นการภายในเพื่อพิจารณาเรื่องนี้เป็นการเฉพาะ
(1.3) หน่วยสนับสนุนคณะกรรมาธิการ
ในการทำหน้าที่ตรวจสอบฝ่ายบริหาร คณะกรรมาธิการจำต้องศึกษาอย่าง
ละเอียด จึงต้องอาศัยเจ้าหน้าที่จำนวนมาก คณะกรรมาธิการของรัฐสภาหลายประเทศประสบปัญหาเจ้าหน้าที่
มีไม่เพียงพอ วิธีการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนบุคลากรมีหลายวิธี ได้แก่ การเชิญบุคลากรหรือผู้เชี่ยวชาญจาก
องค์กรประชาสังคม สถาบันวิชาการเข้ามาช่วยเหลือหรือการจัดตั้งคณะอนุกรรมการที่ปรึกษา
(2) การตรวจสอบฝ่ายบริหารผ่านองค์กรอิสระ
นอกจากรัฐสภาจะหน้าที่ตรวจสอบฝ่ายบริหารแล้ว ยังมีองค์กรอิสระหลายองค์กร
ทำหน้าที่ติดตาม และตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลด้วย ได้แก่
23 แหล่งเดิม, (น. 2-30 - 2-36)
การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)