Page 36 - kpiebook63019
P. 36
31
2.3.4 ความโปร่งใสและการเข้าถึงได้ของรัฐสภา 24
(ก) ความโปร่งใส
หมายถึงการเปิดเผยด้วยการเผยแพร่กิจการรัฐสภาต่อสาธารณะ แต่การเปิดเผยจำเป็น
ต้องคำนึงถึงความมั่นคง (Security) ประกอบด้วย ทั้งนี้ประชาชน จะต้องเข้าถึงรัฐสภาอย่างสมเหตุสมผล
ในทางปฏิบัติ ประชาชนไม่อาจเข้าสู่หรือติดต่อรัฐสภาเป็นส่วนตัวได้ การเปิดเผยกิจการของรัฐสภาจะกระทำ
ผ่านสื่อหรือการกระจายเสียง ซึ่งทำหน้าที่เปรียบเสมือน “เป็นหูเป็นตา” ให้กับประชาชน
รัฐสภามีหน้าที่รายงานกิจการของรัฐสภาให้แก่ประชาชน ปัจจุบันรัฐสภาสามารถ
เผยแพร่การดำเนินงานของรัฐสภาผ่านระบบสื่อสารเทคโนโลยีที่ทันสมัย อาทิ ระบบอินเตอร์เน็ตซึ่งเป็น
การติดต่อสื่อสารแบบสองทางและสามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสภากับประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รัฐสภาต้องคำนึงถึงปัจจัยที่อำนวยความสะดวกให้กับสื่อหรือนักหนังสือพิมพ์สามารถ
รายงานความเคลื่อนไหวกิจการของรัฐสภาให้ประชาชนทราบ คือ
- การเข้าถึง (Access)
- เสรีภาพด้านข้อมูลข่าวสาร (Freedom of information)
- เสรีภาพในการแสดงความเห็น (Freedom of expression) และ
- กฎหมายการควบคุมสื่อ (media regulation)
(ข) ประเด็นเกี่ยวกับการเข้าถึงได้
รัฐสภาต้องอาศัยผู้สื่อข่าว บรรณาธิการข่าว และผู้รายงานข่าว ทำหน้าที่เผยแพร่งาน
ของรัฐสภาต่อประชาชน แต่ทั้งสองฝ่ายมักจะมีความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจกัน สื่อมักจะถูกควบคุมการทำหน้าที่รายงาน
โดยกฎหมายควบคุมสิ่งพิมพ์ สื่อเองบางครั้งเผยแพร่ภาพการทำงานของรัฐสภาโดยไม่รู้และเข้าใจการทำงาน
ของรัฐสภา รัฐสภาเองก็มีความรู้สึกว่า สื่อทำให้ตนเสื่อมเสียตัวอย่าง การเผยภาพการประชุมของรัฐสภา โดยมี
สมาชิกเข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนน้อย ทำให้ประชาชนเข้าใจไปว่าสมาชิกรัฐสภาที่ตนเลือกเข้าไปละเลยหรือ
ไม่ทำหน้าที่ของตน แต่ข้อเท็จจริงก็คือสมาชิกที่ขาดหายไปได้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการ เป็นต้น
รัฐสภาจะใช้เวลาส่วนใหญ่ทำงานในคณะกรรมาธิการ ปัจจุบันรัฐสภาในหลายประเทศ
ส่วนใหญ่จะเผยแพร่ประชาสัมพันธ์คณะกรรมาธิการต่อสาธารณะ จะเป็นประโยชน์หากให้สื่อมีความรู้
ความเข้าใจทั่ว ๆ ไปเกี่ยวกับการทำงานของคณะกรรมาธิการ อาทิ การอนุญาตให้สื่อเข้าฟังหรือสังเกตการณ์
การประชุมคณะกรรมาธิการและรายงานผลการประชุมต่อสาธารณะ
(ค) ความเป็นรัฐสภาที่สามารถเข้าถึงได้ (Accessible parliament)
(1) ปัจจัยที่สมาชิกรัฐสภาจะต้องคำนึงถึงในการปฏิสัมพันธ์กับประชาชน ก็คือ เวลา
(Time) รัฐสภาส่วนใหญ่จะสำรอง 1-2 วันในช่วงต้นหรือปลายสัปดาห์เพื่อไปพบปะประชาชน ในช่วงสมัย
24 แหล่งเดิม , (น. 2-41 – 2-43)
การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)