Page 40 - kpiebook63019
P. 40
35
- มีองค์กรหรือนโยบายที่จะดำเนินการต่อในวาระนั้นและมีผู้เชี่ยวชาญที่เป็นสมาชิก
รัฐสภาอยู่ในคณะกรรมการนั้น
- มีโอกาสตั้งคำถามต่อรัฐมนตรีหรือผู้เจรจาและสามารถแสดงความคิดเห็นทางการเมืองได้
โดยไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายก็ได้
- รวบรวมเป็นแนวทางการทำงานของคณะผู้แทนรัฐบาล
จะเห็นได้ว่ารัฐสภาไม่ได้มีบทบาทโดยตรงในการร่างหรือแม้กระทั่งอยู่ในกระบวนการ
ตัดสินใจในประเด็นระหว่างประเทศ แต่สามารถแนะนำ เขียน หรือถามรัฐมนตรีเกี่ยวกับกระบวนการเจรจา
หรืออภิปรายในคณะกรรมาธิการ หรือแม้กระทั่งไปเจรจาร่วมกับรัฐมนตรี สำหรับเนื้อหาต่อไปนี้ เป็นตัวอย่าง
ประเด็นที่รัฐสภาสามารถเข้าไปมีบทบาทได้
(ข) บทบาทของรัฐสภาในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติกับองค์กรทางนิติบัญญัติระหว่างประเทศ
ในสถานการณ์ปัจจุบัน การติดต่อสื่อสารข้อมูลข่าวสารสามารถสื่อไปยังบุคคลต่าง ๆ
ทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเกิดในภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง สามารถส่งผลกระทบ
ไปยังภูมิภาคอื่น ๆ ได้อย่างรวดเร็ว การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นต้องการความร่วมมือจากประเทศต่าง ๆ
ไม่เฉพาะแต่ประเทศคู่กรณีเท่านั้น การทำงานของรัฐสภาก็มีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาและแลกเปลี่ยน
ความคิดเห็นกับรัฐสภาของประเทศต่าง ๆ เพื่อให้เข้าใจสถานการณ์อย่างถูกต้อง และแก้ปัญหาไปในทิศทาง
เดียวกัน ดังนั้น สมาชิกรัฐสภาของประเทศต่าง ๆ จึงเกิดความคิดที่จะตัดตั้งองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศขึ้น
เพื่อใช้เป็นเวทีที่จะให้สมาชิกรัฐสภาได้มีโอกาสได้ร่วมประชุมพบปะเจรจาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน
ทั้งนี้ ปัจจุบันรัฐสภาไทยได้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ ดังนี้
(1) สหภาพรัฐสภา [Inter-Parliamentary Union (IPU)] 27
สหภาพรัฐสภาในฐานะที่เป็นศูนย์กลางการประชุมรัฐสภานานาชาติมานับตั้งแต่
ปี พ.ศ. 2442 มีเป้าหมายที่จะดำเนินการเพื่อสันติสุขและความร่วมมือระหว่างประชาชน และเพื่อการจัดตั้ง
สถาบัน ที่มั่นคงของผู้แทนปวงชน การที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ ดังกล่าว สหภาพรัฐสภาจึงมีภารกิจในการ
ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
- ส่งเสริมการติดต่อ ประสานงาน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างรัฐสภา
และสมาชิกของรัฐสภาทั่วโลก
- พิจารณาประเด็นปัญหาในระดับนานาชาติและหาข้อมติในประเด็นดังกล่าวโดย
มุ่งประสงค์ถึงการมีส่วนร่วมของรัฐสภาและสมาชิกแห่งรัฐสภานั้น ๆ
27 สรุปจาก สหภาพรัฐสภา (Inter-Parliamentary Union), รัฐสภาระหว่างประเทศ, สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร,
2552, สืบค้นจาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_w3c/ewt_news.php?nid=
13753&filename=
การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)