Page 41 - kpiebook63019
P. 41

36






                                       -  สนับสนุนการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนภายใต้กรอบกติกาสากล

                                         โดยตระหนักว่าเป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยในระบบ
                                         รัฐสภา


                                       -  ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในกระบวนการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและ
                                         การพัฒนาที่มั่นคงของผู้แทนประชาชน

                                     นอกจากนี้ สหภาพรัฐสภายังได้ประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิดภายใต้

               วัตถุประสงค์ร่วมกันกับองค์การสหประชาชาติและได้ประสานความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ
               ทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น


                                     ประเทศไทยได้รับการทาบทามให้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพรัฐสภาทั้งผ่านทางรัฐบาล
               และทางรัฐสภาโดยตรง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2491 เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2493 ที่ประชุมได้มีมติเป็นเอกฉันท์รับ

               หน่วยประจำชาติไทยเข้าเป็นภาคีของสหภาพรัฐสภา

                     
 
 
       (2) สหภาพสมาชิกรัฐสภาเอเชียและแปซิฟิก [Asian-Pacific Parliamentarians’

               Union (APPU)]   28

                                     สหภาพสมาชิกรัฐสภาเอเชียและแปซิฟิก มีวัตถุประสงค์ที่จะให้ได้และรักษาไว้ซึ่ง
               อิสรภาพ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพื่อเป็นการธำรงสันติสุขและความเจริญรุ่งเรืองที่ยั่งยืนของ

               ทวีปเอเชียและแปซิฟิก สภาร่างรัฐธรรมนูญไทยได้ประชุมเป็นการภายใน เป็นครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน
               พ.ศ. 2509 เพื่อพิจารณาเรื่องการเข้าเป็นภาคีของสหภาพฯ และเมื่อที่ประชุมได้พิจารณาร่างกฎบัตรของ
               สหภาพฯ ที่คณะผู้แทนไทยนำกลับมาแล้ว ก็ได้ลงมติให้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพฯ และให้จัดตั้ง

               หน่วยประจำชาติไทย ขึ้นพร้อมทั้งแต่งตั้งคณะกรรมการหน่วยประจำชาติไทยให้มีหน้าที่ดำเนินงานด้าน
               สหภาพสมาชิกรัฐสภาเอเชียต่อไป


                     
 
 
       (3) สมัชชารัฐสภาอาเซียน [ASEAN Inter - Parliamentary Assembly (AIPA)] 29

                                     สมัชชารัฐสภาอาเซียน (ASEAN Inter-Parliamentary Assembly : AIPA) แต่เดิม

               ใช้ชื่อว่าองค์การรัฐสภาอาเซียน (ASEAN Inter - Parliamentary Organization : AIPO) เริ่มก่อตั้งอย่างเป็น
               ทางการเมื่อปี พ.ศ. 2520 โดยการริเริ่มของรัฐสภาอินโดนีเซียในปี พ.ศ. 2517 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง

               ความร่วมมือของรัฐสภาแห่งชาติในอาเซียนให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น เนื่องจากขณะนั้นความร่วมมือของอาเซียนนั้น


               
     28   สรุปจาก สหภาพสมาชิกรัฐสภาเอเชียและแปซิฟิก (Asian - Pacific Parliamentarians’ Union), รัฐสภาระหว่าง
               ประเทศ, สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2552, สืบค้นจาก https://cdc.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/
               parliament_parcy/ewt_news.php?nid=13840

                     29   สรุปจาก สมัชชารัฐสภาอาเซียน [ASEAN Inter - Parliamentary Assembly (AIPA), รัฐสภาระหว่างประเทศ, สำนัก
               เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, 2552, สืบค้นจาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/
               ewt_news.php?nid=35253








            การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46