Page 46 - kpiebook63019
P. 46

41






                     2.4.1  การประเมินการดำเนินงานของรัฐสภาไทยตามเกณฑ์และตัวชี้วัด

                             ของสหภาพรัฐสภา พ.ศ. 2554          35

                           ในการศึกษาครั้งนั้น คณะผู้วิจัยใช้กรอบแนวคิดการประเมินรัฐสภาของสหภาพรัฐสภา หรือ
               Inter-Parliamentary Union (2008) ประกอบกับกรอบอำนาจหน้าที่รัฐสภาไทยตามรัฐธรรมนูญ

               แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นหลัก โดยเน้นที่ประเด็นสำคัญตามบทบาทของรัฐสภา คือ
               1) การเป็นตัวแทนของประชาชน  (The representativeness of parliament) 2) การตรวจสอบฝ่ายบริหาร

               (Parliamentary oversight over the executive) 3) การทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ  (Parliament’s
               legislative capacity) 4) ความโปร่งใสและการเข้าถึงได้ (The transparency and accessibility of
               parliament)  5) ความสำนึกรับผิดชอบ (The accountability of parliament) และ 6) การมีส่วนร่วม

               ในนโยบายระหว่างประเทศ  (Parliament’s involvement in international policy)

                           ขอบเขตด้านเวลาและกลุ่มเป้าหมายของการประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาในงานวิจัย

               คือประเมินการดำเนินงานของสมาชิกรัฐสภาชุดที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในช่วงเวลาการเก็บข้อมูล (มกราคม –
               พฤษภาคม 2554) ซึ่งเป็นสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง และวุฒิสภาที่มาจากเลือกตั้งและการสรรหา

               และการดำเนินงานของข้าราชการรัฐสภา (ทั้งสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาและสำนักงานเลขาธิการสภา
               ผู้แทนราษฎร) ที่ปฏิบัติหน้าที่ในสมัยการดำรงตำแหน่งของสมาชิกรัฐสภาชุดที่ดำรงตำแหน่งอยู่ในช่วงเวลา
               การเก็บข้อมูล


                     
 
 
 การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาในงานวิจัย แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) การประเมิน
               การดำเนินงานของรัฐสภาทั้ง 6 ด้าน ตามกรอบแนวคิดการประเมินของสหภาพรัฐสภา โดยคณะผู้วิจัยได้มี

               การปรับตัวชี้วัดของสหภาพรัฐสภาบางส่วนและพัฒนาตัวชี้วัดเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับบริบทไทย และได้ทำการ
               ประเมินจากความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับรัฐสภา โดยอาศัยการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ
               และเชิงคุณภาพ  2) การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการทำหน้าที่ของรัฐสภา โดยใช้แบบสำรวจ

               ทัศนคติประชาชนที่สถาบันพระปกเกล้าพัฒนาขึ้นเพื่อศึกษาผลการทำงานของรัฐสภาในสายตาประชาชน
               โดยอาศัยการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ


                     
 
 
 1) ผลการประเมินรัฐสภาไทยตามเกณฑ์ของสหภาพรัฐสภา (IPU) เก็บข้อมูลโดยใช้
               แบบสอบถามและการประชุมกลุ่ม ระหว่างวันที่ 19 มกราคม - 10 พฤษภาคม 2554 กลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น
               1) กลุ่มประเมินตนเอง ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาทั้งชุดปัจจุบันและ

               อดีต และข้าราชการรัฐสภา  2) ภาคส่วนอื่น ๆ ได้แก่ ผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ ความเกี่ยวข้องหรือประสบการณ์
               ด้านการทำงานที่เกี่ยวข้องกับรัฐสภา ได้แก่ ข้าราชการระดับสูง สื่อมวลชน ผู้แทนจากภาคประชาสังคม

               ผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ สังคมศาสตร์
               ผู้แทนจากภาคเอกชน และผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจาก


               
     35   สรุปจาก สถาบันการเมืองกับการพัฒนาประชาธิปไตย: ศึกษากรณีการดำเนินงานของรัฐสภาตามเกณฑ์และตัวชี้วัดของ
               สหภาพรัฐสภา (Inter-Parliamentary Union : IPU, สถาบันประปกเกล้า, 2554 กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า,








            การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51