Page 50 - kpiebook63019
P. 50

45






               การดำเนินงานของรัฐสภาไทยตามกรอบตัวชี้วัดที่เป็นสากลของสหภาพรัฐสภาระหว่างประเทศ (Inter -

               Parliamentary Union : IPU) ซึ่งประกอบด้วยตัวชี้วัด 6 ด้าน ได้แก่ การเป็นตัวแทนของประชาชน (R)
               การตรวจสอบฝ่ายบริหาร (O) การทำหน้าที่นิติบัญญัติ (L) ความโปร่งใสและการเข้าถึงได้ (T) ความสำนึก

               รับผิดชอบ (A) และการมีส่วนร่วมในนโยบายระหว่างประเทศ (I) โดยการศึกษมีขอบเขตการประเมินการดำเนินงาน
               ของรัฐสภาไทย ชุดที่ 24 (ปี พ.ศ. 2556) โดยเปรียบเทียบการดำเนินงานของรัฐสภาไทย ชุดที่ 24 (ปี พ.ศ. 2556)
               กับรัฐสภาไทย ชุดที่ 23 (ปี พ.ศ. 2554) และเปรียบเทียบการดำเนินงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

               และสมาชิกวุฒิสภา ชุดที่ 24 (ปี พ.ศ. 2556) โดยคณะผู้วิจัยได้พิจารณาร่วมกันในการตัดประเด็นคำถาม
               ที่ไม่เหมาะสมและจำแนกข้อเพิ่มเติมในบางข้อคำถามระหว่างการทำหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและ

               สมาชิกวุฒิสภา เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น สำหรับการเก็บข้อมูลจัดเก็บ
               ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – พฤษภาคม พ.ศ. 2556 จำนวน 8 ครั้ง ได้แก่ การจัดประเมินตนเองโดยสมาชิก
               รัฐสภา กรุงเทพมหานคร ลพบุรี ตรัง เชียงราย อุบลราชธานี มุกดาหาร และสุโขทัย


                           สำหรับระเบียบวิธีวิจัยเป็นการศึกษาทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยแบ่งการศึกษาเป็น
               2 ส่วน ตามกลุ่มเป้าหมาย คือ


                           1) การประเมินการดำเนินงานของรัฐสภาไทย 6 ด้าน ตามกรอบสหภาพรัฐสภา เป็นการ
               ศึกษาโดยใช้แบบสอบถามและการระดมความคิดเห็นแบบสภากาแฟ ในกลุ่มตัวอย่างเฉพาะ ได้แก่ สมาชิก
               รัฐสภา ข้าราชการ นักวิชาการ สื่อมวลชน ภาคประชาสังคม องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

               และภาคเอกชน โดยประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาในเชิงปริมาณที่ได้จากแบบสอบถาม โดยมีเกณฑ์
               กำหนดระดับการดำเนินงานของรัฐสภา 5 ระดับ คือ

                               คะแนน 0.00 - 1.00 = ระดับต่ำมาก,
                                  คะแนน 1.01 - 2.00 = ระดับต่ำ,
                     





 
 
 
 คะแนน 2.01 - 3.00 = ระดับปานกลาง,

                                  คะแนน 3.01 - 4.00 = ระดับสูง,
                                  คะแนน 4.01 - 5.00 = ระดับสูงมาก


                           ผลการศึกษาครั้งนั้นพบว่า การดำเนินงานของรัฐสภาไทย ชุดที่ 24 (พ.ศ. 2556) ในภาพรวม
               อยู่ในระดับปานกลาง โดยผู้เข้าร่วมประเมินให้คะแนนต่อการทำหน้าที่นิติบัญญัติมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 2.93,

               S.D.= 0.50) รองลงมา คือ การทำหน้าที่ตรวจสอบฝ่ายบริหาร (ค่าเฉลี่ย = 2.85, S.D.= 0.58) ตามมาด้วย
               การมีส่วนร่วมในนโยบายระหว่างประเทศ (ค่าเฉลี่ย = 2.77, S.D.= 0.63) และความโปร่งใสและการเข้าถึงได้
               (ค่าเฉลี่ย = 2.53, S.D.= 0.64) ขณะที่ความเป็นตัวแทนประชาชน (ค่าเฉลี่ย = 2.52, S.D.= 0.58) และ

               ความสำนึกรับผิดชอบ (ค่าเฉลี่ย = 2.41, S.D.= 0.67)  มีคะแนนน้อยที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับการดำเนินงาน
               อื่น ๆ ข้างต้น














            การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55