Page 55 - kpiebook63019
P. 55

50






                           สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดที่ 3  พ.ศ. 2520–2522 แต่งตั้งตามมาตรา 7 แห่งธรรมนูญ

               การปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520 เกิดขึ้นภายหลังคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน นำโดย
               พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาลนายธานินทร์ กรัยวิเชียร คณะผู้ยึดอำนาจได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญ

               แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519 จากนั้นได้ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร
               พุทธศักราช 2520 เป็นการชั่วคราวแทนสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดนี้ มีสมาชิกจำนวน 360 คน ประธานสภา
               คือ พลอากาศเอก หะริน หงสกุล ทำหน้าที่รัฐสภา ระหว่างวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2520 - วันที่

               21 เมษายน พ.ศ. 2522 สิ้นสุดลงเนื่องจากมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่
               22 เมษายน พ.ศ. 2522


                           สภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดที่ 4 พ.ศ. 2534-2535 แต่งตั้งตามมาตรา 7 แห่ง ธรรมนูญ
               การปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 เกิดขึ้นเมื่อคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.)

               นำโดย พลเอก สุนทร คงสมพงศ์ หัวหน้าคณะ ยึดอำนาจการปกครองประเทศจากรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย
               ชุณหะวัณ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 คณะผู้ยึดอำนาจได้ยกเลิก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
               พุทธศักราช 2521 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และได้ประกาศใช้ธรรมนูญการปกครอง พุทธศักราช 2534 แทน ซึ่งได้

               กำหนดให้มีสภาเดียว คือ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีสมาชิกจำนวน 292 คน ทำหน้าที่รัฐสภาระหว่าง
               วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2534 - วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2535 โดยมีนายอุกฤษ  มงคลนาวิน ดำรงตำแหน่ง

               ประธานสภา สภานี้สิ้นสุดลงเนื่องจากมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่
               22 มีนาคม พ.ศ. 2535

                           สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ชุดที่ 5 พ.ศ. 2549–2550 แต่งตั้งตามมาตรา 5 รัฐธรรมนูญ

               แห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549  เกิดขึ้นเมื่อคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบ
               ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) นำโดย พล.อ. สนธิ บุณยรัตกลิน เป็นหัวหน้า
               ยึดอำนาจรัฐบาล พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 และได้ประกาศยกเลิก

               รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 จากนั้นได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
               (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 มีจำนวน 242 คน  เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ต่อมาวันที่

               26 มิถุนายน พ.ศ. 2550 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง ผู้ดำรง
               ตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเพิ่มเติม จนครบ 250 คน ทำหน้าที่รัฐสภา ระหว่างวันที่ 11 ตุลาคม
               พ.ศ. 2549 - วันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2550 มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ดำรงตำแหน่งประธานสภา สภานิติบัญญัติ

               แห่งชาติ ชุดนี้ สิ้นสุดลงเนื่องจากมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม
               พ.ศ. 2550


                     2.5.2  สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2557

                     
 
 
 2.5.2.1  ที่มาและอำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ


                                     สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2557 แต่งตั้งขึ้นหลังรัฐประหาร โดยคณะรักษา
               ความสงบแห่งชาติ (คสช.) นำโดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยึดอำนาจรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร








            การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60