Page 57 - kpiebook63019
P. 57

52






                                     สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญ ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร

               ไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 กำหนดไว้ในมาตราต่าง ๆ ดังนี้  40

                                      1)  การวินิจฉัยชี้ขาดในกรณีเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด

                                         ที่เกิดขึ้นในวงงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (มาตรา 5 วรรคสอง)

                                       2)  การทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา (มาตรา 6 วรรคสอง)


                                       3)  การเสนอและการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติและร่างพระราชบัญญัติประกอบ
                                         รัฐธรรมนูญ (มาตรา 14)


                                       4)  การปรึกษาร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
                                         นั้นใหม่ ในกรณีที่ร่างพระราชบัญญัติหรือร่างพระราชบัญญัติประกอบ
                                         รัฐธรรมนูญใด พระมหากษัตริย์ไม่ทรงเห็นชอบด้วยและพระราชทานคืนมา

                                         ยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือเมื่อพ้น 90 วันแล้วมิได้พระราชทานคืนมา
                                         โดยอาจยืนยันมติตามเดิมได้ (มาตรา 15 วรรคสอง)

                                       5)  การพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกำหนด (มาตรา 21)


                                       6)  การมีมติให้สมาชิกสภานิติบัญญัติที่กระทำการอันเป็นการเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์
                                         ของการเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือมีพฤติการณ์อันเป็น

                                         การขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติแห่งชาติ
                                         พ้นจากตำแหน่ง (มาตรา 12)


                                       7)  การตราข้อบังคับการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (มาตรา 13 วรรคสอง)

                                       8)  การตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรีในเรื่องอันใดเกี่ยวกับหน้าที่ (มาตรา 16 วรรคหนึ่ง)


                                       9)  การเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายเพื่อซักถามข้อเท็จจริงจากคณะรัฐมนตรี (มาตรา
                                         16 วรรคสอง)


                                       10)  การเปิดอภิปรายทั่วไปในที่ประชุมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในกรณีที่มีปัญหา
                                         สำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน โดยการอภิปรายนี้จะลงมติไม่ได้
                                         (มาตรา 17)


                                       11)  การลงมติแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี (มาตรา 19)

                                       12)  การพิจารณาให้ความเห็นชอบหนังสือสัญญาใด ๆ (มาตรา 23)



               
     40   จาก บทบาทอำนาจหน้าที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ, โดย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา, 2557, สืบค้นจาก https://
               www.senate.go.th/view/1/สภานิติบัญญัติแห่งชาติ/TH-TH








            การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62