Page 58 - kpiebook63019
P. 58
53
13) การเสนอชื่อบุคคลเพื่อเป็นกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญในสัดส่วนของ
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (มาตรา 32 (3))
14) การให้ความเห็นหรือข้อเสนอแนะกับคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญเพื่อ
ประกอบการพิจารณาในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ (มาตรา 34 วรรคสอง)
15) การพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม
ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีและคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้มีมติร่วมกันให้แก้ไข
เพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
(มาตรา 46)
เมื่อพิจารณาอำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดนี้ โดยทั่วไปจะไม่แตกต่าง
จากอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญฉบับที่มุ่งหมายจะให้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวรทั้งหลายที่ผ่านมา
แต่จะมีความแตกต่างในส่วนความสัมพันธ์ระหว่างสภานิติบัญญัติแห่งชาติกับคณะรัฐมนตรี ที่คณะรัฐมนตรี
มิได้อยู่ในสถานะที่ต้องได้รับความไว้วางใจจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีอำนาจ
เพียงลงมติแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี ตั้งกระทู้ถาม รวมทั้งเปิดอภิปรายเพื่อซักถามข้อเท็จจริงรัฐมนตรีได้เท่านั้น
แต่ไม่อาจเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีรายบุคคลได้
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีเอกสิทธิ์คุ้มครองการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา
ที่ถือว่าด้วยกระทำด้วยความสุจริตใจ ให้มีอิสระ และปลอดภัย ปราศจากความกดดันและการคุกคาม และ
มีประสิทธิภาพ โดยเปิดให้มีการแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่โดยมิต้องกังวลว่าจะผิดกฎหมาย ถือเป็นการให้
ความคุ้มครองและให้เกียรติแก่ผู้ปฏิบัติงานรัฐสภา โดยในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)
พุทธศักราช 2557 มาตรา 18 ได้กำหนดไว้ว่า
“ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกผู้ใดจะกล่าวถ้อยคำใด ๆ ในทางแถลง
ข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็น หรือออกเสียงลงคะแนน ย่อมเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาด
จะนำไปเป็นเหตุฟ้องร้องว่ากล่าวผู้นั้นในทางใดมิได้
เอกสิทธิ์ตามวรรคหนึ่งให้คุ้มครองถึงกรรมาธิการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ผู้พิมพ์
ผู้โฆษณารายงานการประชุมตามคำสั่งของสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือคณะกรรมาธิการ บุคคล
ซึ่งประธานในที่ประชุมอนุญาตให้แถลงข้อเท็จจริงหรือแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตลอดจนผู้ดำเนินการถ่ายทอดการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติทาง
วิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์หรือทางอื่นใดที่ได้รับอนุญาตจากประธานสภานิติบัญญัติ
แห่งชาติด้วย แต่ไม่คุ้มครองสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติผู้กล่าวถ้อยคำในการประชุมที่มี
การถ่ายทอดทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์หรือทางอื่นใดหากถ้อยคำที่กล่าวในที่ประชุม
ไปปรากฏนอกบริเวณสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และถ้อยคำนั้นมีลักษณะเป็นความผิดอาญา
หรือละเมิดสิทธิในทางแพ่งต่อบุคคลอื่นซึ่งมิใช่รัฐมนตรีหรือสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ...”
การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)