Page 53 - kpiebook63019
P. 53
48
การกระทำผิดหรือเข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อนตามมาตรฐานสากล รวมทั้งการเผยแพร่
ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและภาคประชาสังคมรับรู้และมีส่วนร่วมในการติดตาม เฝ้าดูและ
ลงโทษสมาชิกรัฐสภาที่มีพฤติกรรมผิดจริยธรรมหรือเข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อน ผ่านกลไก
การเลือกตั้งและตรวจสอบอื่น ๆ
- ควรมีการเสริมสร้างและสนับสนุนให้ภาคประชาชนเข้ามามีบทบาทในการถ่วงดุลอำนาจของ
สมาชิกรัฐสภาโดยผ่านกลไกต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่การให้ความรู้ความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับ
บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบและการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา การให้ข้อมูลข่าวสาร
ที่เรียบง่าย การจัดเวทีหรือพื้นที่เพื่อให้ประชาชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และแสดงความคิดเห็น
เป็นต้น
- สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาควรพัฒนา ปรับปรุง
และเปลี่ยนแปลงระบบการรับ-ส่งข้อมูลข่าวสารการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา
แพร่กระจายไปสู่ประชาชนให้ทั่วถึง แพร่หลาย และอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน
- สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา รวมถึงสถาบัน
พระปกเกล้า ควรวางยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถและสมรรถนะของสมาชิกรัฐสภา
อย่างเป็นระบบ บนพื้นฐานความโปร่งใสและการเข้าถึงได้ของข้อมูลของประชาชน
- สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ควรจัดทำการสำรวจ
ความเชื่อมั่นอย่างเป็นระบบแล้วประชาสัมพันธ์และเผยแพร่สู่สาธารณะและนำความเห็นของ
ประชาชนไปใช้ในการปรับปรุงการทำงานของสมาชิกรัฐสภา
- คณะกรรมการการเลือกตั้ง ควรทบทวนและปรับปรุงระบบการตรวจสอบการให้เงินอุดหนุน
แก่พรรคการเมืองให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและบังคับใช้อย่างเสมอภาค รวมทั้งกำหนด
มาตรการและวิธีการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนและภาคสังคมมีส่วนร่วมด้วยรวมทั้ง
ผลักดัน ให้พรรคการเมืองมีบทบาทในการส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกของสมาชิกรัฐสภาให้มี
ความสำนึกรับผิดชอบต่อประชาชนทั้งประเทศและประชาชนในเขตเลือกตั้ง
- ควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทของสื่อและสื่อระดับท้องถิ่น หรือชุมชน ในกรณีอยู่
ต่างจังหวัดหรือที่ห่างไกล ใช้วิทยุรัฐสภา สื่อออนไลน์ จัดเวที เพื่อให้สมาชิกรัฐสภาและ/หรือ
ผู้ช่วยประจำตัวสมาชิกรัฐสภา เข้าถึงประชาชนให้ใกล้ชิดและทั่วถึง
การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)