Page 48 - kpiebook63019
P. 48
43
R = การเป็นตัวแทนของประชาชน
O = การตรวจสอบฝ่ายบริหาร
L = การทำหน้าที่นิติบัญญัติ
T = ความโปร่งใสและการเข้าถึงได้
A = ความสำนึกรับผิดชอบ
I = การมีส่วนร่วมในนโยบายระหว่างประเทศ
คณะผู้วิจัยในครั้งนั้นพบว่า ผลการประเมินรัฐสภาโดยภาพรวมองค์ประกอบหลักทั้ง 6 ด้าน
อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย= 2.6, S.D.= 0.66) เมื่อพิจารณาผลของแต่ละองค์ประกอบหลัก มีค่าคะแนน
เฉลี่ยเรียงลำดับจากสูงสุดไปต่ำสุด ดังนี้ การทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ (ค่าเฉลี่ย =2.8, S.D.= 0.66)
การตรวจสอบฝ่ายบริหาร (ค่าเฉลี่ย = 2.8, S.D.= 0.61) การเป็นตัวแทนประชาชน (ค่าเฉลี่ย = 2.6,
S.D. =0.61) การมีส่วนร่วมในนโยบายระหว่างประเทศ (ค่าเฉลี่ย= 2.6, S.D.= 0.74) ความโปร่งใสและ
การเข้าถึงได้ (ค่าเฉลี่ย = 2.5, S.D.= 0.64) และความสำนึกรับผิดชอบ (ค่าเฉลี่ย =2.3, S.D. = 0.69)
แสดงให้เห็นว่าผลการประเมินองค์ประกอบหลักทั้ง 6 ด้านนั้น จัดอยู่ในระดับปานกลางทั้งสิ้น และ
องค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติและการตรวจสอบฝ่ายบริหาร ซึ่งนับว่าเป็น
พันธกิจสำคัญของรัฐสภา ขณะที่องค์ประกอบที่ได้ค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ความสำนึกรับผิดชอบ แม้อยู่ในระดับ
ปานกลางแต่ค่อนไปทางน้อย
ทั้งนี้ ผู้ตอบแบบประเมินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ให้ค่าเฉลี่ยผลการดำเนินงาน
ของรัฐสภาสูงสุดกว่าภาคอื่น (ค่าเฉลี่ย = 2.7 เท่ากัน) รองลงมาคือภาคกลางและกรุงเทพมหานคร (ค่าเฉลี่ย =
2.6 เท่ากัน) และภาคเหนือ (ค่าเฉลี่ย= 2.4)
นอกจากนี้ ในการประเมินจำแนกตามกลุ่มหรือสาขาอาชีพ พบว่าข้าราชการรัฐสภา
ให้คะแนนรัฐสภาสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ (ค่าเฉลี่ย = 2.9) อยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างสูง ส่วนกลุ่มที่ให้คะแนน
รัฐสภาต่ำที่สุด คือประชาสังคม และ NGOs (ค่าเฉลี่ย= 2.2 และ= 2.3 ตามลำดับ) นอกจากนี้ยังพบว่า
กลุ่มต่าง ๆ มีการประเมินการดำเนินงานของรัฐสภาไปในทิศทางเดียวกัน คือองค์ประกอบที่มีผลการประเมิน
สูงกว่าองค์ประกอบอื่น ได้แก่ องค์ประกอบด้านการตรวจสอบฝ่ายบริหาร และการทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ
ส่วนองค์ประกอบที่มีผลการประเมินต่ำกว่าองค์ประกอบอื่น ได้แก่ ความสำนึกรับผิดชอบ ความโปร่งใสและ
การเข้าถึงได้
2) การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการทำหน้าที่ของรัฐสภา เก็บข้อมูลโดยใช้
แบบสอบถาม (โดยความร่วมมือของสำนักงานสถิติแห่งชาติ) ระหว่างวันที่ 1 - 15 มกราคม 2554 กลุ่มตัวอย่าง
(หรือผู้ประเมิน) คือ ประชาชน จำนวน 5,130 ราย ที่มาจากการสุ่มตัวอย่างตามความน่าจะเป็น จากผู้มีสิทธิ
เลือกตั้ง (ผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป) ทั้งในและนอกเขตเทศบาลทั่วประเทศ
การประเมินประกอบด้วยข้อคำถามเกี่ยวกับความเชื่อมั่นในภาพรวมของประชาชนที่มีต่อ
รัฐสภาไทย และบริบทด้านต่าง ๆ ได้แก่ ความเป็นตัวแทน (Representativeness) สัมพันธภาพ
(Relationship) ความพึงพอใจ (Satisfaction) และความไว้วางใจ (Trust)
การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)