Page 39 - kpiebook63019
P. 39
34
ของสมาชิกรัฐสภา เมื่อมีการถ่ายทอดการประชุมรัฐสภา มักจะพบว่าจำนวนสมาชิกรัฐสภาที่เข้าร่วมประชุม
มีน้อย ประชาชนมักจะเห็นภาพสภาค่อนข้างว่างเปล่าและเกิดความรู้สึกไม่ประทับใจในการทำงานของสมาชิก
รัฐสภา
ดังนั้น ประมวลจริยธรรมของสมาชิกรัฐสภาจึงกำหนดให้สมาชิกรัฐสภาชี้แจง
เหตุผลการขาดประชุม มิเช่นนั้นจะมีการลงโทษ เช่น การเผยแพร่รายชื่อสมาชิกรัฐสภาที่ขาดการประชุม
การไม่อนุญาตให้อภิปรายหรือกระทู้ การตัดเงินเดือนส่วนหนึ่ง การยกเลิกตำแหน่งชั่วคราว การทอนอำนาจ
เป็นต้น
(2.4) การสำรวจความคิดเห็นของประชาชน
ปัจจัยหนึ่งช่วยส่งเสริมความรับผิดชอบของรัฐสภาคือ การสำรวจวามคิดเห็น
ของประชาชนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อวัดความเชื่อถือของประชาชนที่มีต่อรัฐสภา ทั้งนี้การสำรวจความเห็น
ของประชาชนต้องเป็นไปอย่างมีระบบและระมัดระวัง เช่น การจำแนกผู้ถูกสำรวจ เป็นต้น
2.3.6 การเข้าไปเกี่ยวข้องของรัฐสภาในเรื่องนโยบายระหว่างประเทศ 26
(ก) บทบาทพื้นฐานของรัฐสภากับนโยบายระหว่างประเทศ
ปัจจุบันนี้ ด้วยความซับซ้อนของกระแสโลกาภิวัตน์ รัฐทั้งหลายไม่อาจแยกแยะ
การทำงานในประเทศและต่างประเทศออกจากกันได้อย่างชัดเจน รัฐสภาจึงต้องพิจารณางานด้านต่างประเทศ
ของรัฐบาลได้และทำการควบคุมตรวจสอบได้เช่นเดียวกันกับงานภายในประเทศ ซึ่งเรื่องที่รัฐสภาสามารถเข้าไป
ดำเนินการในเบื้องต้น ได้แก่
(1) การเข้าไปมีอิทธิพลในนโยบายต่างประเทศ ในเรื่องที่ทำกับ UN หรือเวทีเจรจาอื่น ๆ
(2) ชี้แจงกระบวนการและผลลัพธ์ของการเจรจานั้น ๆ
(3) ตัดสินใจในข้อตกลงเท่าที่อยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญโดยดูจากเนื้อหาและ
สนธิสัญญาจากรัฐบาล
(4) การเข้าร่วมในกระบวนการอื่นที่ต่อเนื่องจากนั้น
สิ่งที่รัฐสภาดำเนินการในเบื้องต้นดังกล่าวนั้น รัฐสภาไม่ได้เป็นผู้เจรจาหรือลงนาม
ในสัญญา แต่เป็นผู้กลั่นกรองและให้ความคิดเห็นโดยประธานรัฐสภาหรือโฆษกของรัฐสภา ดังนั้นบทบาทของ
รัฐสภาที่ชัดเจนมากขึ้น ได้แก่
- การมีพื้นฐานทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- ชี้แจงนโยบายและข้อมูลภูมิหลังคู่เจรจาได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
26 แหล่งเดิม, (น. 2-54)
การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)