Page 34 - kpiebook63019
P. 34
29
(3) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรากฎหมาย
ประเทศสมาชิกสหภาพรัฐสภาหลายประเทศได้ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมการมีส่วนร่วม
ของประชาชนในการเสนอ และการพิจารณากฎหมาย ทั้งนี้ มีแนวทางในการดำเนินการหลายอย่าง อาทิ
(3.1) แนวทางการสร้างเสริมขีดความสามารถให้แก่ประชาชน
มีหลายวิธีที่ช่วยสร้างโอกาสและขีดความสามารถของประชาชน โดยเฉพาะ
กลุ่มชนชายขอบหรือกลุ่มชนผู้ด้อยโอกาส ในการยื่นข้อเสนอแก้ไข ปรับปรุงหรือสนับสนุนการพิจารณา
กฎหมาย ได้แก่
- การแจ้งหรือประชาสัมพันธ์วันจัดทำประชาพิจารณ์และการประชุม
คณะกรรมาธิการล่วงหน้า
- การให้คำแนะนำวิธีการเข้าถึงคณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องและวิธีการจัดทำ
กรอบการจัดทำข้อเสนอแนะ
- การจัดทำแบบฟอร์มการยื่นข้อเสนอความเห็นเกี่ยวกับกฎหมาย
- การจัดทำ “ประชาพิจารณ์” หรือการจัดประชุมคณะกรรมาธิการในท้องถิ่น
เพื่อรับฟังความเห็นทั่วไป
(3.2) การจัดตั้งสภาหรือเวทีเจรจาสาธารณะ (Public Forum or Chamber)
ในบางประเทศ มีการจัดตั้งสภาหรือเวทีสาธารณะให้ภาคประชาสังคมได้เข้ามา
ทำงานร่วมกับรัฐสภา เพื่อเสนอข้อคิดเห็น ข้อพึงปรารถนา และข้อเสนอแนะของภาคประชาสังคมต่อรัฐสภา
จัดกิจกรรมร่วมระหว่างคณะกรรมาธิการรัฐสภากับภาคประชาสังคม จัดหาข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับประชาสังคม
และจัดหาข้อมูลรัฐสภาให้แก่ประชาสังคม เป็นต้น
(3.3) เกณฑ์ปฏิบัติที่ดีในการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพิจารณา
กฎหมาย
สหภาพรัฐสภานานาชาติ ได้เสนอแนวทางปฏิบัติการสร้างการมีส่วนร่วมกับรัฐสภา
และคณะกรรมาธิการรัฐสภาในการพิจารณากฎหมาย ดังนี้
- การจัดทำทะเบียนภาคประชาสังคม หรือ NGOs ต่าง ๆ พร้อมรายละเอียดภารกิจ
แหล่งเงินทุนสนับสนุน รวมทั้งทะเบียนผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ
- การเผยแพร่รายงาน (ร่าง) กฎหมายที่จะเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา การจัดทำ
ประชาพิจารณ์ เป็นต้น
การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)