Page 30 - kpiebook63019
P. 30

25






               หลักความสุจริต หลักสิทธิมนุษยชน และหลักธรรมาภิบาล อันจะทำให้สามารถขับเคลื่อนประเทศให้พัฒนา

               ไปข้างหน้าได้อย่างเป็นขั้นตอนจนเกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ทั้งในทางการเมืองการปกครอง
               เศรษฐกิจ และสังคมตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”


                     นอกจากนี้ ยังได้นำหลักธรรมาภิบาล และหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ไปบัญญัติในเนื้อของ
               รัฐธรรมนูญอีกหลายมาตรา ได้แก่

                     “มาตรา 65  รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลัก

               ธรรมาภิบาลเพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนต่าง ๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกันเพื่อให้เกิดเป็นพลัง
               ผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว....”

                     “มาตรา 76  รัฐพึงพัฒนาระบบการบริหารราชการแผ่นดินทั้งราชการส่วนกลางส่วนภูมิภาค
               ส่วนท้องถิ่น และงานของรัฐอย่างอื่น ให้เป็นไปตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี โดยหน่วยงาน
               ของรัฐต้องร่วมมือและช่วยเหลือกันในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดิน การจัดทำ

               บริการสาธารณะ และการใช้จ่ายเงินงบประมาณมีประสิทธิภาพสูงสุด
                     เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน รวมตลอดทั้งพัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐให้มีความซื่อสัตย์สุจริตและ

               มีทัศนคติเป็นผู้ให้บริการประชาชนให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ไม่เลือกปฏิบัติ และปฏิบัติหน้าที่อย่างมี
               ประสิทธิภาพ....”
                     “มาตรา 164  ในการบริหารราชการแผ่นดิน คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่ง

               รัฐธรรมนูญ กฎหมาย และนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ด้วย
                     ... (3) ยึดถือและปฏิบัติตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี...”


                     ธรรมาภิบาล เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาและสมควรให้เกิดขึ้น เพราะคุณภาพของสังคมนั้นไม่พึงเป็นเพียงแค่
               การพัฒนาทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชากร แต่ยังรวมถึงความมั่งคั่ง ยั่งยืนของเรื่องเหล่านี้ และ

               รวมความสัมพันธ์ของผู้คน การอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่แปลกแยก มีความไว้วางใจ รวมกลุ่ม
               ทำงานเพื่อส่วนรวม คนเล็กคนน้อยมีความสุข ทำให้ทรัพยากรถูกนำมาใช้เพื่อประโยชน์สังคมอย่างเหมาะสม
               มีการเสริมสร้างความเข้มแข็งซึ่งศักยภาพของประชาชนให้สามารถดำเนินตามความต้องการของตนเอง นั่นคือ

               ผลพวงของการมีธรรมาภิบาล ด้วยเหตุนี้การพัฒนาที่คำนึงถึงการอยู่รอดของมนุษยชาติในระยะยาว หรือ
               การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) จึงเป็นผลของการมีคุณภาพสังคม เมื่อคนส่วนน้อยมีโอกาส

               เข้าถึงทรัพยากรและความยุติธรรมเช่นเดียวกับคนส่วนใหญ่

                     ความขัดแย้งก็จะลดลง เกิดความเป็นธรรมในสังคม (Social Jiustice) ในที่สุดความสันติสุขอย่างสถาพร

               (Sustainable Peace) จึงจะเกิดขึ้นได้ การมีธรรมาภิบาลที่เป็นต้นทางของกระบวนการพัฒนาประเทศ โดยมี
               กลไกขับเคลื่อนที่สำคัญ คือ กระบวนการทำให้เป็นประชาธิปไตย (Democratization) ที่ให้ความสำคัญกับ
               การเป็นประชาธิปไตยทั้งสาระ (Substance) และกระบวนการ (Process) 20


               
     20   จาก ธรรมาภิบาล : กลไกสำคัญในการปฏิรูปเพื่อพัฒนาประเทศ ในดุลอำนาจในการเมืองการปกครองไทย, โดย ถวิลวดี
               บุรีกุล (2558), กรุงเทพ: สถาบันพระปกเกล้า อ้างใน การให้เอกชนริเริ่มในการลงทุนแทนรัฐ กรณีเรือนจำเอกชน ประเทศญี่ปุ่น
               (น.51-53) โดย เลิศพร อุดมพงษ์, 2562, กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, ลิขสิทธิ์ 2562 โดยสถาบันพระปกเกล้า






            การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35