Page 26 - kpiebook63019
P. 26

21






               ฝ่ายบริหารต่างก็มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน จึงไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองต่อกัน หากฝ่ายนิติบัญญัติ

               ไม่ผ่านร่างกฎหมายงบประมาณ หน่วยงานของฝ่ายบริหารอาจจะต้องหยุดการดำเนินงาน เพราะไม่มี
               งบประมาณในการดำเนินการ  13


                           ลักษณะที่สอง การตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดิน เป็นหน้าที่สำคัญอย่างยิ่งของ
               ฝ่ายนิติบัญญัติ นอกเหนือจากการพิจารณากำหนดกฎเกณฑ์แห่งกฎหมายเพื่อให้ฝ่ายบริหารสามารถดำเนิน

               ภารกิจของตนได้แล้ว เพื่อการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน จึงต้องมีการกำหนดให้ตัวแทนของ
               ประชาชนสามารถตรวจสอบการดำเนินงานของฝ่ายบริหารได้ด้วย ทำให้การทำงานของฝ่ายบริหารที่ผ่านไป
               ในแต่ละวันนั้นต้องดำเนินไปโดยตระหนักว่าจะต้องมีความเชื่อมโยงและรับผิดชอบกับประชาชนอยู่เสมอ 14

               โดยมาตรการในการตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินนั้น เป็นไปในรูปแบบต่าง ๆ เช่นการแต่งตั้ง
               ฝ่ายบริหารต้องได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายนิติบัญญัติ  ฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจทำให้ฝ่ายบริหารลงจาก

               ตำแหน่งได้โดยการเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจ มีสิทธิตั้งกระทู้ถามฝ่ายบริหารเกี่ยวกับการบริหาร
               ราชการแผ่นดินเพื่อให้ฝ่ายบริหารต้องชี้แจงข้อเท็จจริงแก่สภา มีอำนาจแต่งตั้งกรรมาธิการเพื่อติดตาม
               การดำเนินงานของฝ่ายบริหาร และกรรมาธิการมีอำนาจเรียกฝ่ายบริหารมาให้ข้อเท็จจริงได้ มีอำนาจฟ้องต่อ

               ศาลยุติธรรมหรือศาลปกครองเพื่อวินิจฉัยการกระทำของฝ่ายบริหารว่าเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายหรือไม่ มีอำนาจ
               ในการถอดถอนฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการออกจากตำแหน่งหากกระทำการอันขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือ

               กฎหมายตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด เป็นต้น



               2.2  หลักธรรมาภิบาล


                     แนวความคิดเรื่องธรรมาภิบาล (good governance) เป็นแนวคิดในการจัดวางระบบการบริหารจัดการ
               รัฐที่ดี ซึ่งเป็นแนวคิดพื้นฐานในการปกครองที่มีการพูดถึงอย่างมากในราวทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา

               โดยธนาคารโลก ได้นำคำนี้ไปใช้ครั้งแรกเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1989 ในรายงานเรื่อง Sub-Sahara: From Crisis
               to Sustainable Growth โดยได้ให้ความหมายว่าเป็นลักษณะและวิถีทางของการที่มีการใช้อำนาจทาง
               การเมืองเพื่อจัดการงานของบ้านเมือง โดยเฉพาะการจัดการทรัพยากรเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

                           15
               เพื่อการพัฒนา
                     ธรรมาภิบาลเป็นเรื่องที่เน้นตรงกฎเกณฑ์ (norm) ที่วางระบบโครงสร้าง กระบวนการ และความสัมพันธ์

               ของภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาสังคมในการบริหารจัดการเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของรัฐ

               
     13   ได้เกิดสภาวะดังกล่าวขึ้นในสหรัฐอเมริกา ครั้งล่าสุด เมื่อ พ.ศ. 2556 โปรดดู, http://th.wikipedia.org/wiki/การปิด
               บริการของรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2556#cite_note-59allactions-11 เข้าถึงเมื่อ 24 กค. 2562.

               
     14   จาก กฎหมายรัฐสภา (น.21), โดย มนตรี รูปสุวรรณ, 2543, กรุงเทพ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, พิมพ์ครั้งที่ 2,
               ลิขสิทธิ์ 2543 โดยมหาวิทยาลัยรามคำแหง
               
     15   จาก รายงานผลการวิจัยเรื่องตัวชี้วัดธรรมาภิบาล (น.5), โดย บุษบง ชัยเจริญวัฒนา และ บุญมี ลี้, 2544, กรุงเทพฯ: สถาบัน
               พระปกเกล้า, ลิขสิทธิ์ 2544 โดยสถาบันพระปกเกล้า








            การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31