Page 23 - kpiebook63019
P. 23
18
รัฐธรรมนูญของประเทศต่าง ๆ ในระบอบประชาธิปไตยจึงต้องมีการแบ่งแยกอำนาจโดยคำนึงถึงการรับรอง
และคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเป็นสำคัญเสมอ จนอาจกล่าวได้ว่าการจัดระบบการใช้อำนาจรัฐ
4
ให้มีการแบ่งแยกอำนาจนั้น เป็นมาตรวัดสำคัญในการที่จะชี้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับนั้นเป็นไปตามหลักรัฐธรรมนูญ
นิยมหรือไม่
2.1.2 ฝ่ายนิติบัญญัติในระบอบประชาธิปไตย
แม้ฝ่ายนิติบัญญัติในรัฐที่ปกครองตามหลักนิติรัฐ-ประชาธิปไตย อาจมีความแตกต่างกัน
ในด้านองค์ประกอบ ที่มา คุณสมบัติ จำนวนสมาชิก วิธีการเข้าสู่ตำแหน่ง วาระการดำรงตำแหน่ง แต่เมื่อ
พิจารณาตามหลักการแบ่งแยกอำนาจ ลักษณะสำคัญของฝ่ายนิติบัญญัติในระบอบประชาธิปไตย คือ
ประการแรก ฝ่ายนิติบัญญัติจะสะท้อนความเป็นตัวแทนของประชาชน
โดยสืบเนื่องจาก
ทฤษฎีสัญญาประชาคม (social contract) ที่ถือว่าคนแต่ละคนมีเสรีภาพและสิทธิอยู่ตามธรรมชาติ แต่ยอม
5
สละสิทธิเสรีภาพตามธรรมชาตินั้นบางส่วนเมื่อเข้ามารวมเป็นสังคม เพื่อให้เกิดความผาสุกร่วมกันของสังคม
จึงเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์กรนิติบัญญัติต้องมีความเป็นตัวแทนของประชาชน จะเห็นได้ว่า
ในทุกระบบการเมืองที่มีการแบ่งแยกอำนาจตามแนวคิดนิติรัฐ-ประชาธิปไตยจะต้องกำหนดให้ฝ่ายนิติบัญญัติ
มีที่มาจากประชาชนเสมอ ในรูปแบบของการมีสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ทั้งนี้
แม้ในระบบการเมืองที่เป็นแบบสภาคู่ อาจมีสภาหนึ่งที่มิได้มีที่มายึดโยงกับประชาชน แต่ก็จะต้องมีส่วนของ
สภาผู้แทนราษฎรด้วยทั้งสิ้น ส่วนองค์ที่ใช้อำนาจในทางบริหารหรือตุลาการ จะมีความเกี่ยวโยงกับประชาชน
เพียงใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับการจัดระบบความสัมพันธ์ตามความเคร่งครัดในหลักการแบ่งแยกอำนาจ เช่น ในระบบ
ประธานาธิบดีและระบบกึ่งประธานาธิบดี ก็ให้ประชาชนเลือกผู้นำในฝ่ายบริหารได้เช่นกัน ทั้งนี้ การเป็น
ตัวแทนของประชาชนของฝ่ายนิติบัญญัติ ทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจในการดำเนินการต่าง ๆ ที่มีสาระสำคัญ
เกี่ยวโยงกับการแสดงเจตนาร่วมกันของประชาชน ไม่ว่าจะเป็น การให้ความเห็นชอบในเรื่องสำคัญต่าง ๆ อาทิ
การประกาศสงคราม สัญญาสงบศึก สัญญาสันติภาพ ทำหนังสือสัญญากับต่างประเทศหรือองค์กรระหว่าง
ประเทศ การรับรองให้เข้าดำรงตำแหน่งของผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรต่าง ๆ รวมถึงการแก้ไขเพิ่มเติม
รัฐธรรมนูญ 6
4 จาก รัฐธรรมนูญในแนวคิดรัฐธรรมนูญนิยม [ตอนที่ 1] โดย เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์, 2548, สืบค้นจาก ” http://
www.pub-law.net/publaw/view.aspx?ID=409
5 จาก การปรับปรุงกระบวนการริเริ่ม การนำเสนอ การพิจารณา และการอนุมัติกฎหมายไทย (น.5) โดย สถาบันพระปกเกล้า
และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. 2543. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, ลิขสิทธิ์ 2543 โดยสถาบันพระปกเกล้า
6 แม้รัฐธรรมนูญหลาย ๆ ประเทศจะกำหนดให้ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้ใช้อำนาจในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ แต่การใช้อำนาจ
เช่นนี้ ก็ไม่ใช่อำนาจนิติบัญญัติ เนื่องจากอำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เป็นอำนาจที่ต่อเนื่องมาจาก “อำนาจสูงสุดในการก่อตั้งองค์กร
ทางการเมือง” (Pouvoir Constituant) ซึ่งเป็นอำนาจก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ และเมื่อมีรัฐธรรมนูญแล้ว จึงมีการสร้างระบบกฎหมายและ
องค์กรทางการเมืองรวมถึงฝ่ายนิติบัญญัติด้วย ดังนั้น อำนาจนิติบัญญัติจึงเป็นอำนาจที่รับมอบมาจากรัฐธรรมนูญ จึงเป็นไปไม่ได้
ที่อำนาจที่ได้รับมอบมาจะสามารถกลับไปแก้ไขบ่อเกิดแห่งอำนาจของตน แต่ที่มีการกำหนดให้ฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจดังกล่าวไว้
เนื่องจากแนวคิดเสรีนิยมประชาธิปไตย ถือว่ารัฐธรรมนูญเป็นสัญญาประชาชาคมของประชาชน และมีความชอบธรรมที่จะให้ตัวแทน
ของประชาชนเป็นผู้ให้ความเห็นชอบกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้ โปรดดู กระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญและการควบคุม
ความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในต่างประเทศ, (น 16-17). โดย ชมพูนุท ตั้งถาวร 2556, กรุงเทพฯ, สถาบัน
พระปกเกล้า, ลิขสิทธิ์ 2556 โดยสถาบันพระปกเกล้า
การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)