Page 22 - kpiebook63019
P. 22

17






               2.1 ระบบรัฐสภาในระบอบประชาธิปไตย



                      2.1.1  หลักพื้นฐานของการจัดระบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย:
                             หลักการแบ่งแยกอำนาจ

                     
 
   ประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมืองของฝรั่งเศส (Déclaration des droits de l’homme

               et du citoyen) ข้อ 16

                           “สังคมใดไม่มีการให้หลักประกันในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพหรือไม่มีการแบ่งแยกการใช้
               อำนาจอธิปไตยที่แน่ชัด สังคมนั้นไม่มีรัฐธรรมนูญ”


                           ข้อความในเอกสารข้างต้นเกิดขึ้นภายหลังปฏิวัติครั้งใหญ่ของฝรั่งเศส โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ
               ของฝรั่งเศสได้ลงมติรับเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 1789 แนวคิดของการร่างประกาศนี้มาจากหลักปรัชญาและ

               การเมืองของยุคแห่งความสว่างไสวหรือยุคแห่งการรู้แจ้ง (les lumières) โดยนับแต่ศตวรรษที่ 16 ถึงศตวรรษ
               ที่ 18 การเกิดความเคลื่อนไหวทางความคิดในทุกแขนงวิชา โดยการเคลื่อนไหวทางความคิดดังกล่าวมีลักษณะ

               เป็นการตั้งคำถาม การวิพากษ์วิจารณ์ การสงสัยต่อสิ่งที่ต้องยอมรับเด็ดขาดเป็นยุติ ห้ามโต้แย้ง ห้ามคิดต่าง
               เช่น ต้องยอมรับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หรือคำสอนทางศาสนาคือคำอธิบายความจริงของโลก
               เป็นการประสานแนวคิดเรื่องการสร้างหลักประกันในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและหลักการแบ่งแยกอำนาจ

               ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดกลุ่มการจัดการอำนาจอธิปไตย ซึ่งเป็นหลักการสำคัญในกำหนดกรอบแห่งกฎเกณฑ์
               แห่งกฎหมายสูงสุดที่จะใช้ในการปกครองรัฐ คือรัฐธรรมนูญ แนวคิดดังกล่าวมีสาระสำคัญคือ ไม่ต้องการให้

               อำนาจรวมอยู่ที่บุคคลคนเดียวหรือองค์กรเดียวกันเพราะบุคคลหรือองค์กรเดียวผูกขาดการใช้อำนาจไว้
               อาจทำให้เกิดการใช้อำนาจตามอำเภอใจ ซึ่งจะทำให้ผู้อยู่ใต้ปกครองถูกกดขี่ หากมีการแยกอำนาจให้ผู้ถือ
               อำนาจแต่ละฝ่ายต้องพึ่งพาอาศัยและควบคุมซึ่งกันและกันในลักษณะถ่วงดุลอำนาจ ประชาชนผู้อยู่ใต้อำนาจ

               จะได้รับการคุ้มครองจากการใช้อำนาจในทางมิชอบ
                                                         3
                           เมื่อแนวคิดประชาธิปไตย หลักนิติรัฐ และหลักรัฐธรรมนูญนิยม ได้รับการยอมรับ

               การก่อกำเนิดรัฐสมัยใหม่ในเวลาต่อมา แนวทางการแบ่งแยกอำนาจก็ได้กลายเป็นเทคนิคในรัฐธรรมนูญ
               ที่ทรงอิทธิพลครอบงำการจัดระบบการเมืองของรัฐสมัยใหม่ที่ยึดถือหลักนิติรัฐ-ประชาธิปไตย ผ่านการจัดทำ

               รัฐธรรมนูญตามหลักรัฐธรรมนูญนิยมอย่างมาก เพราะในระบอบประชาธิปไตย ไม่ว่าอำนาจในการก่อตั้งระบบ
               การเมืองจะมาจากประชาชนหรือไม่ การแบ่งแยกการใช้อำนาจของผู้ปกครอง โดยมีกลไกถ่วงดุลการใช้อำนาจ
               ระหว่างกัน เพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนนั้น จะทำผู้ทรงสิทธิที่สำคัญที่สุดในระบบการปกครอง

               เป็นประชาชนเสมอ รัฐธรรมนูญที่ยึดถือในหลักการนี้ย่อมจะได้รับการยอมรับในฐานะกฎหมายสูงสุด
               ไปโดยปริยาย นอกจากนี้การจัดระบบรัฐที่สิทธิเสรีภาพของประชาชนได้รับการคุ้มครองและมีการวางกลไก

               การตรวจสอบอำนาจรัฐที่เหมาะสม จะเป็นการขับดันการใช้อำนาจรัฐให้มีประสิทธิภาพได้ในตัวเอง

                      3   จาก “ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับวิวัฒนาการของรัฐธรรมนูญในอังกฤษและฝรั่งเศส” โดย วรวิทย์ กนิษฐะเสน, 2524
               วารสารนิติศาสตร์, 9(3), น.4 , ลิขสิทธิ์ 2524 โดย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์









            การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27