Page 24 - kpiebook63019
P. 24

19






                     
 
 
 ประการที่สอง ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นองค์กรหลักในการตรากฎหมาย อันเป็นผลตามทฤษฎี

               สัญญาประชาคมเช่นกัน โดยในการปกครองของรัฐเองก็มีความจำเป็นต้องออกกฎหมายเพื่อประโยชน์
               สาธารณะนั้นก็จะต้องจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลที่รวมเป็นสังคม ดังนั้น การจำกัดสิทธิเสรีภาพเช่นนี้

               ต้องกระทำโดยปวงชนหรือผู้แทนปวงชน ซึ่งแสดงเจตจำนงทั่วไป (general will) ผ่านการออกเป็นกฎหมาย
               โดยนัยนี้ กฎหมายที่ปวงชนหรือผู้แทนปวงชนบัญญัติขึ้นจึงเป็นการแสดงออกซึ่งเจตจำนงร่วมกันของ
               ประชาชนเอง (law is the expression of the general will) การจำกัดสิทธิเสรีภาพโดยกฎหมายที่ปวงชน

                                                                              7
               หรือผู้แทนประชาชนออกจึงกระทำได้เพราะปวงชนได้ให้ความยินยอมแล้ว  โดยความสัมพันธ์เชิงอำนาจของ
               ฝ่ายนิติบัญญัติในกรณีนี้ ก็เป็นการสะท้อนถึงความสำคัญของฝ่ายนิติบัญญัติในฐานะตัวแทนประชาชน

               ในลักษณะดังนี้

                     
 
   ลักษณะแรก คือ มีอำนาจในการดำเนินกระบวนการนิติบัญญัติเพื่อกำหนดสาระของ

               กฎเกณฑ์แห่งกฎหมายมาใช้ในรัฐ  โดยกฎหมายที่ตราขึ้นนี้ต้องมีลักษณะเป็นกฎเกณฑ์ที่มุ่งใช้บังคับกับบุคคล
               ทั่วไป และใช้กับข้อเท็จจริงได้ไม่จำกัดจำนวน ทั้งนี้ขอบเขตอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติจะสามารถตรากฎหมาย
               ได้เพียงใดขึ้นได้นั้น ในประเทศที่ถือว่าองค์กรนิติบัญญัติเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ (Supremacy of

               Parliament) อย่างประเทศอังกฤษ ฝ่ายนิติบัญญัติไม่มีข้อจำกัดในการตรากฎหมาย โดยจะตรากฎหมาย
               เกี่ยวกับเรื่องใดก็ได้  ทั้งนี้ ประเทศส่วนใหญ่ จะมีข้อกำหนดขอบเขตของเนื้อหาสาระของกฎหมายที่อาจตราได้
                               8
                                           9
               ไว้ในรัฐธรรมนูญ ได้เป็นสองกลุ่ม 
โดยกลุ่มแรกซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่ใช้ระบบรัฐสภา (ยกเว้นประเทศ
               อังกฤษ) อาจบัญญัติไว้กว้าง ๆ ว่าฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจในการตรากฎหมายเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับ
               สิ่งที่รัฐธรรมนูญกำหนดรับรองไว้  ส่วนอีกกลุ่มจะบัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่าฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจในการ
                                            10
               ตรากฎหมายเรื่องใดบ้าง นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ไม่สามารถทำได้ เช่นในรัฐธรรมนูญของประเทศสหรัฐอเมริกา
               และรัฐธรรมนูญของประเทศฝรั่งเศส 
เป็นต้น
                                             11




               
      7   จาก การปรับปรุงกระบวนการริเริ่ม การนำเสนอ การพิจารณา และการอนุมัติกฎหมายไทย โดยสถาบันพระปกเกล้า และ
               สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, เล่มเดิม, หน้าเดิม.

               
      8   แต่ก็อาจมีข้อจำกัดตามธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติ โดยมิได้กำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรในรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญ
               ของอังกฤษมิได้มีการบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษร และในปัจจุบันรัฐสภาอังกฤษก็ได้ตรากฎหมายมาจำกัดขอบเขตอำนาจของตนเองคือ
               Westminster Act 1931 รวมถึงการต้องดำเนินการตามกฎเกณฑ์ที่ออกโดยสหภาพยุโรป ที่อังกฤษเป็นสมาชิกอยู่ และยังมีการโอน
               อำนาจในการตรากฎหมายที่เกี่ยวกับการปกครองประเทศที่รวมกันเป็นสหราชอาณาจักร ให้มีอำนาจตรากฎหมายได้เอง อันได้แก่
               รัฐสภาสกอตแลนด์ สภาแห่งเวลส์ และสภาแห่งไอร์แลนด์เหนือ แต่รัฐสภาอังกฤษก็ยังสามารถตรากฎหมายเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมหรือ
               เพิกถอนกฎหมายที่รัฐสภาของประเทศเหล่านั้นตราขึ้นได้ โปรดดู หลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ (น. 67) โดย มานิตย์ จุมปา, 2557,
               กรุงเทพฯ: นิติธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 2. และ รัฐสภาสหราชอาณาจักร : สภาสามัญ สภาขุนนาง หน่วยงานสนับสนุน โดย อรณิช รุ่งธิปานนท์,
               2553, ในเอกสารวิชาการ, (น.34-36). สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร,

               
      9   จาก หลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ, เล่มเดิม, หน้าเดิม.
               
     10   ตัวอย่างเช่น มาตรา 26 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
               
     11   โปรดดูรัฐธรรมนูญของประเทศสหรัฐอเมริกา มาตรา 1 ข้อ 8 และรัฐธรรมนูญของประเทศฝรั่งเศส ค.ศ. 1958 มาตรา 34









            การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29