Page 27 - kpiebook63019
P. 27

22






               ซึ่งเป็นการบริหารจัดการที่ดี (good governance) โดยมีเป้าหมายคือ การพัฒนาและอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

               ของทุกภาคในสังคมกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ธรรมาภิบาลมีจุดมุ่งหมายในการสร้างความเป็นธรรมในการพัฒนา
               ทางเศรษฐกิจและสังคมให้กับทุกภาคในสังคม ไม่ใช่ภาคใดภาคหนึ่ง 16


                     แนวความคิดเรื่องธรรมาภิบาลสอดคล้องกับหลักนิติรัฐ รัฐธรรมนูญนิยม และหลักความชอบด้วย
               กฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และให้ความสำคัญกับทุกภาคในสังคม ไม่ว่าจะเป็นประชาสังคม (civil society)

               หรือภาคธุรกิจเอกชน มากกว่าจะเน้นการจัดการภาครัฐแต่เพียงอย่างเดียว การมีส่วนร่วมของประชาชนทั้งทางตรง
               และทางอ้อมผ่านสถาบันต่าง ๆ ความเปิดเผยโปร่งใสในกระบวนการทำงาน ข้อมูล ข่าวสารต่าง ๆ ในสังคม
               สามารถถ่ายโอนและตรวจสอบได้ รวมถึงมีมาตรการจัดการกับเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนด้วย


                     การจัดระบบการบริหารจัดการรัฐที่เป็นธรรมาภิบาลนั้น มุ่งที่จะสร้างความเป็นธรรมในสังคมย่อมเป็น
               ปฏิปักษ์ต่อการบริหารจัดการรัฐที่เอื้อประโยชน์ให้ภาคใดภาคหนึ่งแต่เพียงฝ่ายเดียว ดังนั้น เพื่อป้องกัน
               การเกิดกรณีดังกล่าว และเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น ก็ย่อมต้องมีมาตรการในการควบคุมบุคลากรของรัฐ

               ให้ดำเนินการอยู่ในระบบการบริหารจัดการที่ดีต่อไป

                     ในประเทศไทย ภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อ พ.ศ. 2540 กระแสการนำหลักธรรมาภิบาลได้เกิดขึ้น

               เนื่องจากเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหลายครั้ง ด้วยเหตุที่ผู้ปกครองมิได้ยึดมั่นในหลัก “ธรรมาภิบาล” จนทำให้
               เกิดความเสียหายแก่บ้านเมือง การก่อตัวของความเชื่อในกระบวนการบริหารรัฐตามหลักธรรมาภิบาลจึงทวี

               ความสำคัญของยิ่งขึ้น ทั้งในแง่เป็นแนวทางที่ควบคุมการปฏิบัติการใช้อำนาจของรัฐ และเป็นองค์ประกอบ
               สำคัญที่เสริมสร้างความยั่งยืนของประชาธิปไตย  ทั้งนี้ สถาบันพระปกเกล้า ซึ่งได้การสนับสนุนของสำนักงาน
               พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ทำการศึกษาค้นคว้าตัวชี้วัดธรรมาภิบาล เพื่อนำไปสู่การเข้าใจ

               หลักธรรมาภิบาล องค์ประกอบสำคัญ แนวทางการบรรลุธรรมาภิบาลเพื่อการปฏิบัติงานที่ดีขึ้น รายงานชิ้นนี้
               เป็นเอกสารวิจัยชุดแรก ๆ ของประเทศไทยที่นำเสนอองค์ความรู้เกี่ยวกับธรรมาภิบาลซึ่งมักเรียกสลับไปมากับ

               คำว่า “การบริหารจัดการที่ดี” โดยธรรมาภิบาลประกอบด้วยหลักพื้นฐาน 6 ประการ คือ หลักสำนักรับผิดชอบ
               นิติธรรม มีส่วนร่วม คุณธรรม โปร่งใส และคุ้มค่า 17


                     รายงานเรื่อง “การศึกษาเพื่อพัฒนาดัชนีชี้วัดผลการพัฒนาระบบบริหารจัดการที่ดี” โดยสถาบัน
                          18
               พระปกเกล้า   ได้ให้ความหมายของการบริหารจัดการที่ดีว่าเป็นหลักการบริหารงานที่มุ่งเน้นหลักการ โดยมิใช่
               หลักการที่เป็นรูปแบบทฤษฎีการบริหารงาน แต่เป็นหลักการทำงาน ซึ่งหากมีการนำมาใช้เพื่อการบริหารงาน

               แล้ว จะเกิดความเชื่อมั่นว่า จะนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่ดีที่สุด แนวคิดการบริหารจัดการที่ดีหรือ “ธรรมาภิบาล”
               ประกอบด้วยหลักการพื้นฐาน 6 ประการ คือ

               
     16   จาก การสร้างธรรมาภิบาลในสังคมไทย, (น.28), โดย บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, 2542, กรุงเทพฯ: วิญญูชน, ลิขสิทธิ์ 2542 โดย
               สำนักพิมพ์วิญญูชน.

               
     17   จาก หลักธรรมาภิบาล:จากแนวคิดสู่การปฏิบัติในสังคมไทย, (น.4), โดย สถาบันพระปกเกล้า, 2564, กรุงเทพฯ: สถาบัน
               พระปกเกล้า ,ลิขสิทธิ์ 2561 โดย สถาบันพระปกเกล้า
               
     18   จาก รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาดัชนีชี้วัดผลการพัฒนาระบบบริหารจัดการที่ดี (น.6-2 - 6-3) โดย
               สถาบันพระปกเกล้า, 2545, กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, ลิขสิทธิ์ 2545 โดยสถาบันพระปกเกล้า







            การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32