Page 31 - kpiebook63019
P. 31

26






               2.3 กรอบการประเมินการดำเนินงานรัฐสภาของสหภาพรัฐสภา (IPU)

                                                   21
                      และรัฐสภาต่างประเทศ


                     สหภาพรัฐสภา (Inter-Parliamentary Union หรือ IPU) ได้จัดทำข้อแนะนำการปฏิบัติที่ดีสำหรับ
               รัฐสภาและระบอบประชาธิปไตยในยุคศตวรรษที่ 21 (Parliament and Democracy in the twenty-first
               century : A Guide to good practice) และคู่มือการประเมินการดำเนินงานของรัฐสภา: การประเมินตนเอง

               สำหรับรัฐสภา (Evaluating Parliament: a self-assessment toolkits for parliaments) โดยใช้หลักการ
               และค่านิยมพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยเป็นกรอบแนวคิด และอาศัยแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับรัฐสภา

               ตามระบอบประชาธิปไตยเป็นแนวในการออกแบบคู่มือและวางเกณฑ์มาตรฐานเพื่อใช้ในการประเมิน
               การดำเนินงานของรัฐสภา ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 6 ด้าน คือ

                      2.3.1 การเป็นตัวแทนปวงชนของรัฐสภา        22


                           เกณฑ์มาตรฐานแรกของรัฐสภาภายใต้ระบอบประชาธิปไตย คือ การเป็นตัวแทนรัฐสภา ซึ่งจะ
               ต้องสะท้อนถึง


                     
 
   (1)  เจตจำนงของประชาชน (popular will)  โดยดูจากการเลือกผู้แทนและ
               พรรคการเมืองของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง  โดยผ่านระบบการเลือกตั้ง (Electoral system)


                     
 
   (2)  ความหลากหลายทางสังคม (social diversity) ในรูปของความหลากหลายทางเพศ
               ภาษา ศาสนา เชื้อชาติ และอื่น ๆ หากรัฐสภาขาดความหลากหลายทางสังคมแล้ว จะทำให้เกิดช่องโหว่หรือ
               ทอดทิ้งกลุ่มชน หรือชุมชนหรือกลุ่มด้อยโอกาสออกไป และอาจส่งผลให้เกิดความไร้เสถียรภาพของระบบ

               การเมืองและผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนได้

                           ทั้งนี้ “การเป็นตัวแทนปวงชนของรัฐสภาตามระบอบประชาธิปไตย” พิจารณาจาก


                           ก. การเป็นองค์ประกอบของรัฐสภา (Composition of parliament) ซึ่งเป็นผลลัพธ์มาจาก
               กระบวนการเลือกตั้ง (Electoral Process) ซึ่งจะต้องเสริมสร้างให้เกิดการเป็นตัวแทนปวงชนและ

               ความหลากหลายทางสังคม โดยต้องมี กฎและระเบียบขั้นตอนการเลือกตั้งเพื่อเอื้อให้สมาชิกรัฐสภาเป็นตัวแทน
               ของปวงชน เอื้อให้รัฐสภาประกอบด้วยผู้แทนกลุ่มชนที่หลากหลาย มีตัวแทนของชนกลุ่มน้อยและผู้ด้อยโอกาส

                           ข. ข้อบังคับรัฐสภาที่เป็นธรรมและไม่แบ่งแยก (Fair and inclusive parliamentary

               procedures) ซึ่งเปิดโอกาสให้สมาชิกรัฐสภาทุกคนแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในงานของรัฐสภาอย่าง
               เสมอภาค รวมทั้งได้รับการพัฒนาการเรียนรู้เพื่อการทำหน้าที่เป็นผู้แทนในรัฐสภา



               
     21   สรุปจาก สถาบันการเมืองกับการพัฒนาประชาธิปไตย: การดำเนินงานของรัฐสภาตามเกณฑ์และตัวชี้วัดของสหภาพรัฐสภา
               (IPU), เล่มเดิม, (น. 2-15 – 2-61)
               
     22   แหล่งเดิม, (น. 2-16.)









            การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36