Page 33 - kpiebook63019
P. 33

28






                                     -  คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน

                                     -  คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
                                     -  คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และ

                                     -  ผู้ตรวจการแผ่นดิน

                                     เพื่อให้การตรวจสอบการบริหารงานของฝ่ายบริหารบรรลุวัตถุประสงค์ รัฐสภาควรมี

               บทบาทในการให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลขององค์กรอิสระเหล่านี้ด้วย

                     
 
 
       (3)  การตรวจสอบฝ่ายบริหารของรัฐสภาด้วยการตั้งกระทู้ถามและการอภิปราย

                                     กลไกหนึ่งของรัฐสภาซึ่งสามารถตรวจสอบการดำเนินงานของฝ่ายบริหารได้อย่างมี

               นัยสำคัญ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร ทั้งนี้รัฐสภาของหลายประเทศได้
               กำหนดกระบวนการตอบกระทู้ถามไว้อย่างเป็นระบบ


                           (ข) รูปแบบการตรวจสอบฝ่ายบริหาร

                                 (1)  การให้ความเห็นชอบต่อการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี


                                  (2)   การติดตามตรวจสอบงบประมาณรายจ่ายและควบคุมการเงิน

                                  (3)  การตรวจสอบการวางแผนงานระยะยาว

                                  (4)  การตรวจสอบประเด็นความเสมอภาคหญิงชาย


                      2.3.3 การทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ

                           เกณฑ์วัดการทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติของสหภาพรัฐสภามุ่งประเด็นไปในเรื่องของ

               กระบวนการพิจารณาร่างกฎหมาย เนื้อหาและคุณภาพของกฎหมายที่ตราออกมา ขีดความสามารถของสมาชิก
               รัฐสภาในการตรากฎหมาย (ซึ่งจะรวมถึงการตรวจสอบฝ่ายบริหารด้วย) การมีส่วนร่วมของประชาชนในการ
               ตรากฎหมาย เป็นต้น


                     
 
 
 (1)  การปรับปรุงกระบวนการพิจารณาร่างกฎหมาย

                                 การทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองและตรากฎหมายเป็นอีกภาระหน้าที่หนึ่งของรัฐสภา

               ในหลาย ๆ ประเทศพบว่า กระบวนการพิจารณากลั่นกรองและตรากฎหมายมีข้อจำกัดด้านเวลาในการกลั่นกรอง
               เนื้อหาของกฎหมายอย่างละเอียดถี่ถ้วน รัฐสภาของหลาย ๆ ประเทศ ได้พยายามหาช่องทางปรับปรุง

               กระบวนการออกกฎหมาย

                     
 
 
 (2)  คุณภาพของกฎหมาย


                                 ปัญหาสำคัญซึ่งรัฐสภาส่วนใหญ่ประสบในการออกกฎหมายก็คือ คุณภาพของกฎหมาย
               ควรมีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้าน ไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ








            การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38