Page 18 - kpiebook63019
P. 18
13
1.8 นิยามศัพท์
1. รัฐสภา หมายถึง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
2. สมาชิกรัฐสภา หมายถึง สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
3. มิติของการประเมินรัฐสภา (หรือองค์ประกอบหลัก) หมายถึง หัวข้อที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
การประเมินรัฐสภาไทยเพื่อประมวลผลเป็นตัวชี้วัด องค์ประกอบหลักมีจำนวน 6 ด้าน ได้แก่ 1) การเป็น
ตัวแทนของประชาชน 2) การตรวจสอบฝ่ายบริหาร 3) การทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ 4) ความโปร่งใสและ
การเข้าถึงได้ของรัฐสภา 5) ความสำนึกรับผิดชอบของรัฐสภา และ 6) การมีส่วนร่วมในนโยบายระหว่าง
ประเทศ
4. การเป็นตัวแทนของประชาชน หมายถึง การทำหน้าที่ผู้แทนปวงชนของสมาชิกรัฐสภา อันประกอบ
ด้วยกลุ่มบุคคลที่เป็นตัวแทนกลุ่มต่าง ๆ ที่มีความหลากหลาย มีการได้มาอย่างโปร่งใส และมีความเสมอภาค
เท่าเทียมในการทำหน้าที่อภิปรายประเด็นความห่วงกังวลของประชาชนและการพิจารณาผลประโยชน์ของชาติ
ร่วมกันในรัฐสภา โดยกลไกการบริหารจัดการของรัฐสภามีบทบาทสำคัญต่อการสนับสนุนการทำหน้าที่ตัวแทน
ประชาชนของสมาชิกรัฐสภา
5. การตรวจสอบฝ่ายบริหาร หมายถึง การทำหน้าที่ติดตามตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล
โดยรัฐสภาผ่านกลไกการตั้งกระทู้ถาม กรรมาธิการ โดยการทำหน้าที่ดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุน
เช่น ผู้ช่วยดำเนินงาน ผู้ชำนาญการ และผู้เชี่ยวชาญ ระบบสนับสนุนของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา การให้
ความร่วมมือด้านข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ จึงจะทำให้การตรวจสอบฝ่ายบริหารเป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพ
6. การทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ หมายถึง การทำหน้าที่ในการตรากฎหมายของรัฐสภา ตั้งแต่
กระบวนการเสนอร่างกฎหมาย ไปสู่ขั้นตอนการพิจารณารับหลักการ แปรญัตติ และลงมติรวมทั้งขั้นตอน
การพิจารณาร่างกฎหมายในชั้นกรรมาธิการของทั้งในสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา โดยเป็นไปตามหลัก
สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค ชอบด้วยบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ และสนองตอบความต้องการของประชาชน
และมีการเปิดโอกาสให้ประชาชนหรือผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมในการพิจารณาร่างกฎหมายได้
7. ความโปร่งใสของรัฐสภา หมายถึง การที่รัฐสภามีการเปิดเผยและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่มี
ผลกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่อย่างตรงไปตรงมา ด้วยรูปแบบ วิธีการ ภาษาที่เหมาะสมต่อสาธารณชน
ผ่านช่องทางที่หลากหลาย ครอบคลุม รวมทั้งในการทำงานของรัฐสภาต้องปลอดจากอิทธิพลใด ๆ
8. การเข้าถึงได้ของรัฐสภา หมายถึง การที่สื่อและสาธารณชนสามารถรับทราบและทราบข้อมูล
ข่าวสารของรัฐสภาและสมาชิกรัฐสภา รัฐสภาและสมาชิกรัฐสภาเปิดโอกาสและมีช่องทางให้สาธารณชน
สามารถติดต่อให้ข้อมูลต่าง ๆ กับรัฐสภาและสมาชิกรัฐสภาได้โดยตรง
9. ความสำนึกรับผิดชอบของรัฐสภา หมายถึง การที่รัฐสภาตระหนักในสิทธิและหน้าที่ ความมี
จิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง และการกระตือรือร้นในการแก้ไข
การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)