Page 15 - kpiebook63019
P. 15

10






                     สถาบันพระปกเกล้า ในฐานะองค์กรที่มีพันธกิจในการพัฒนาประชาธิปไตย และการส่งเสริมงานวิชาการ

               แก่รัฐสภา ได้เคยดำเนินโครงการประเมินผลการดำเนินงานรัฐสภา โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดที่ยึดหลักตามเกณฑ์
                                                                   1
                                                                                   2
               ของสหภาพรัฐสภา (IPU) มีมาแล้ว 2 ครั้ง เมื่อ พ.ศ. 2555  และ พ.ศ. 2558  ซึ่งการประเมินดังกล่าว
               เป็นการประเมินรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้ง ต่อมา หลังการรัฐประหารเมื่อ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
               คณะรักษาความสงบแห่งชาติ นำโดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
               ไทย พุทธศักราช 2550 สิ้นสุดลง  และประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)

               พุทธศักราช 2557 โดยในมาตรา 6 ได้บัญญัติให้มี “สภานิติบัญญัติแห่งชาติ” ขึ้นทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร
               วุฒิสภา และรัฐสภา ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2557 และสิ้นสุดการปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการเมื่อ

               วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เช่นนี้ เพื่อให้มีการประเมินผลของรัฐสภาอย่างต่อเนื่อง สถาบัน
               พระปกเกล้า โดยสำนักวิจัยและพัฒนา และสำนักส่งเสริมวิชาการรัฐสภา จึงได้จัดให้มีโครงการประเมินผล
               การดำเนินงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary (IPU) ที่มี

               การพัฒนาเกณฑ์และตัวชี้วัดให้เหมาะสมกับที่มาและอำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติขึ้น



               1.2 วัตถุประสงค์


                     เพื่อประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย และนำเสนอผลการประเมินรวมถึงข้อเสนอแนะต่อ

               การดำเนินงานของรัฐสภาแก่สมาชิกรัฐสภา (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ)



               1.3 เป้าหมาย


                     ผลผลิตของโครงการได้มีการประเมินผลการดำเนินงานของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และ
               เล่มรายงานการศึกษาการประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)



               1.4 ประโยชน์ที่ได้รับ


                     ได้แนวทางการพัฒนากระบวนการนิติบัญญัติอย่างต่อเนื่อง โดยมีการอ้างอิงการประเมินตามหลักเกณฑ์

               ตัวชี้วัดอย่างเป็นระบบ






               
      1   สถาบันประปกเกล้า, รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ สถาบันการเมืองกับการพัฒนาประชาธิปไตย: ศึกษากรณีการดำเนินงาน
               ของรัฐสภาตามเกณฑ์และตัวชี้วัดของสหภาพรัฐสภา (Inter-Parliamentary Union : IPU), กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, 2555.
               
      2   สถาบันพระปกเกล้า, รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์: การประเมินการดำเนินงานของรัฐสภาไทยตามเกณฑ์และตัวชี้วัดของ
               สหภาพรัฐสภา. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า. 2558.









            การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20