Page 158 - kpiebook63019
P. 158

153






               สะดวก รวดเร็ว คล่องตัว และต่อเนื่อง ส่วนปัจจัยสนับสนุนการปฏิบัติงานในด้านอื่น ๆ เช่น งานวิจัยและ

               งานวิชาการนั้น ทั้งจากการประชุมกลุ่มและผู้ทรงคุณวุฒิเห็นพ้องกันว่ามีระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีพร้อม
               มีข้อมูลและงานวิจัยที่ดีจำนวนมาก แต่ก็เห็นตรงกันว่า สิ่งที่มี ไม่ตอบโจทย์ที่ต้องการ ไม่สามารถนำมาใช้ได้จริง

               และสมาชิกไม่ได้ให้ความสำคัญกับการนำไปใช้ ทั้งนี้ ในส่วนการทำงานของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
               ปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายเลขานุการ มีคณะผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านที่ให้ความเห็นได้ทันที ในการอภิปราย
               มีจำนวนมากแต่ก็ยังเห็นว่าไม่เพียงพอและยังไม่สามารถให้ความเห็นได้ทุกเรื่อง ทั้งนี้ ด้านระบบการได้มา

               ข้อมูลและการตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร มีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง
               (ค่าเฉลี่ย = 2.92, S.D. = 0.87) ผู้ทรงคุณวุฒิและการประชุมกลุ่มส่วนใหญ่เห็นว่าการตั้งกระทู้ถาม

               การอภิปราย และการตรวจสอบโดยกลไกของกรรมาธิการในการตรวจสอบฝ่ายบริหารทำได้น้อย เพราะสมาชิก
               สภานิติบัญญัติแห่งชาติถูกแต่งตั้งมาจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ
               ประจำที่มีตำแหน่งสำคัญ จึงยึดติดกรอบวัฒนธรรมระบบราชการ ไม่ชอบการมีส่วนร่วม ไม่ชอบรับฟัง

               ความคิดเห็น ไม่ชอบการคัดค้านแม้จะมีเหตุผล เป็นสภาแบบไม่มีฝ่ายค้าน นอกจากนั้นสมาชิกสภานิติบัญญัติ
               แห่งชาติไม่มีความหลากหลาย ไม่ได้เป็นตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์ทั้งหมด ทำให้เกิดการปกป้องงานของตนเอง

               เมื่อต้องตรากฎหมาย และขาดการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบจากประชาชน อย่างไรก็ตามผู้ทรงคุณวุฒิ
               บางส่วนมองการทำงานของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นแบบมืออาชีพมุ่งการจัดการและเชิงวิชาการ
               มากกว่าเชิงการเมือง เห็นเป้าปฏิรูป ทำเพื่อประชาชน ด้านระบบและขั้นตอนการพิจารณาและตรวจสอบ

               งบประมาณประจำปี มีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.76, S.D. = 1.01)
               โดยที่ประชุมกลุ่มเห็นว่าในเรื่องนี้ทำได้ไม่มาก ทำตามกระบวนการและระบบที่มีอยู่ รวมทั้งไม่มีการเผยแพร่

               ข้อมูลในส่วนนี้ ซึ่งเสริมกับความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิที่เห็นว่า การตรวจสอบบ้างแต่ไม่ได้มีความเข้มข้นนัก
               และฝ่ายบริหารสามารถกำหนดให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการได้ส่วนด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด
               คือกระบวนการในการกลั่นกรองและตรวจสอบการทำหน้าที่ของฝ่ายบริหารและองค์กรอิสระ โดยมี

               การดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.62, S.D. = 1.05) ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
               ไม่เข้มงวดเรื่องความโปร่งใส แต่เข้มงวดในการเลือกคนไปในทิศทางที่ฝ่ายบริหารต้องการ ส่วนความเห็นจาก

               การประชุมกลุ่มเห็นว่าการดำเนินการในเรื่องนี้ไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเนื่องจากมีอำนาจครอบงำจาก
               ฝ่ายบริหาร


                     
 
 
 5.1.2.5  ผลการประเมินการดำเนินงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในด้านความโปร่งใส
               และการเข้าถึงได้

                                     การประเมินผลในด้านนี้ มีองค์ประกอบย่อยถึง 8 ข้อ ได้แก่ การเปิดเผยข้อมูล

               ผลการประชุมของรัฐสภาและคณะกรรมาธิการต่อสื่อและสาธารณะ การมีเสรีภาพของสื่อในการเข้าถึงและ
               นำเสนอข่าวเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐสภาและสมาชิกรัฐสภา การมีช่องทาง ความถี่ และการครอบคลุม
               ของการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของรัฐสภาและกรรมาธิการ รูปแบบ วิธีการ และภาษาที่ใช้

               ในการเผยแพร่ข้อมูลของรัฐสภาและกรรมาธิการ โอกาสและความสะดวกของประชาชนในการเสนอความคิดเห็น
               ปัญหาร้องทุกข์กับผู้แทนและกรรมาธิการโดยตรง โอกาสในการมีส่วนร่วมเสนอข้อมูลและความคิดเห็น









            การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163