Page 156 - kpiebook63019
P. 156

151






               โดยที่มาของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่มาจากข้าราชการทหารเป็นส่วนใหญ่ ที่เห็นได้ชัดคือ สัดส่วน

               ผู้หญิง ผู้ด้อยโอกาสที่มีโอกาสน้อยมากที่จะได้รับการคัดเลือกเข้ามาเป็นตัวแทน บางส่วนเห็นว่าข้อจำกัด
               ด้านความหลากหลายดังกล่าวเกิดขึ้นจากความจำเป็นของสถานการณ์ในขณะนั้น ทั้งนี้ ผู้ทรงคุณวุฒิส่วนใหญ่

               เห็นว่าแม้ผู้ที่ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มิได้ถูกแต่งตั้งโดยจำแนกตามกลุ่มอาชีพ แต่ก็เป็น
               ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ และไม่มีความเป็นพรรคการเมือง จึงไม่มีปัญหาในการทำงานร่วมกัน
               อย่างไรก็ดี ในด้านความโปร่งใสในการได้มาของสมาชิกรัฐสภา มีคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด โดยมีการดำเนินงาน

               อยู่ในระดับต่ำ (ค่าเฉลี่ย = 1.81, S.D. = 1.21) ทั้งนี้ ทั้งการประชุมกลุ่มและผู้ทรงคุณวุฒิล้วนแล้วแต่เห็นว่า
               กระบวนแต่งตั้งนั้น แม้จะเน้นบุคคลที่สามารถทำงานได้ทันที แต่ส่วนใหญ่ไม่ทราบแนวทางการได้มา

               ไม่สามารถตรวจสอบกระบวนได้มาซึ่งสมาชิกสภานิติบัญญัติได้ และต้องการทราบข้อมูลในส่วนนี้เช่นกัน

                     
 
 
 5.1.2.3  ผลการประเมินการดำเนินงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในด้านการทำหน้าที่

               นิติบัญญัติ

                                     การประเมินการทำงานด้านนิติบัญญัตินี้จะเน้นการประเมินใน 5 องค์ประกอบย่อย
               คือ เรื่องความสามารถของคณะกรรมาธิการในด้านนิติบัญญัติ กระบวนการพิจารณาร่างกฎหมาย เนื้อหาและ

               คุณภาพของกฎหมายที่ตราออกมา ขีดความสามารถของสมาชิกรัฐสภาในการตรากฎหมาย และการมีส่วนร่วม
               ของประชาชนในการตรากฎหมาย ทั้งนี้ผลการประเมินสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ด้านการทำหน้าที่นิติบัญญัติ
               ในภาพรวมพบว่า มีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง ค่อนไปทางสูง (ค่าเฉลี่ย = 2.69, S.D. = 0.93)

               และหากเทียบกับเกณฑ์การประเมินในด้านอื่น ๆ แล้ว ในภาพรวมถือได้ว่าการทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ
               มีค่าเฉลี่ยเป็นอันดับที่สอง โดยมีแต่เพียงผลการประเมินด้านการมีส่วนร่วมในนโยบายต่างประเทศเท่านั้น

               ที่มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาตามองค์ประกอบย่อย พบว่าขีดความสามารถของกรรมาธิการในการ
               ทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด โดยมีการดำเนินงานอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 3.39,
               S.D. = 0.79) สอดคล้องกับการประเมินผลจากการประชุมกลุ่มและจากผู้ทรงคุณวุฒิที่เห็นตรงกันว่า

               แม้กรรมาธิการจะมีที่มาที่ไม่มีความหลากหลายเท่าใดนัก แต่ในขั้นการดำเนินงานนั้น ผู้ที่ทำหน้าที่กรรมาธิการ
               ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ อยู่แล้ว ทำให้ตัวชี้วัดนี้สำหรับด้านนิติบัญญัติก็ยังเป็น

               ที่ยอมรับได้ และมีผลการประเมินสูงกว่าเกณฑ์ชี้วัดตัวอื่น ๆ โดยเห็นว่าคณะกรรมาธิการยังเป็นองค์สำคัญ
               ในการพิจารณากฎหมายก่อนนำเข้าสู่ที่ประชุมใหญ่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติอยู่ รองลงมา คือ คุณลักษณะ
               ของกฎหมายที่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา มีการดำเนินงานอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 3.13, S.D. = 0.98)

               ซึ่งทั้งการประชุมกลุ่มและผู้ทรงคุณวุฒิเห็นตรงกันว่าหากพิจารณาในกรอบเรื่องปริมาณของกฎหมายที่ตราขึ้น
               ในช่วงการทำงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาตินั้นมีจำนวนมากกว่าการดำเนินงานของรัฐสภาปกติอย่างมาก

               ถือว่ามีประสิทธิภาพในการทำงานสูง อย่างไรก็ดี ในด้าน กรอบระยะเวลาและงบประมาณในการตรากฎหมาย
               มีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.93, S.D. = 1.01) ด้านกรอบแนวคิดและกระบวนการ
               พิจารณาร่างกฎหมายในรัฐสภาและคณะกรรมาธิการ มีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.92,

               S.D. = 0.86) ซึ่งเป็นผลกระทบที่เกี่ยวเนื่องกันความพยายามในการผลิตกฎหมายที่รัฐบาลเห็นว่ามีความจำเป็น
               ในจำนวนมากทำให้ผลการดำเนินงานสองด้านนี้ลดลงมา ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมประเมินส่วนใหญ่เกือบทุกคนไม่ทราบ









            การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
   151   152   153   154   155   156   157   158   159   160   161