Page 151 - kpiebook63019
P. 151

146






                                     ในกรณีการมีส่วนร่วมในการสร้างพันธะทางกฎหมายหรือทางการเงินในเวทีระหว่าง

               ประเทศ ผู้เข้าร่วมประชุมสภากาแฟส่วนใหญ่เห็นบทบาทนี้น้อย แต่สิ่งที่ต้องการคือ ต้องการให้สภานิติบัญญัติ
               แห่งชาติ มองประเด็นผลกระทบกับประชาชนในพันธกรณีทั้งหลายที่ได้ตกลงไปด้วย


                                     ในการติดตามและตรวจสอบนโยบายและการปฏิบัติตามพันธะหรือข้อตกลง
               ความช่วยเหลือประเทศ นั้น ต้องการให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มารับฟังความคิดเห็นของประชาชน

               ในพันธกรณีเหล่านั้น ควรมีการปรับปรุงข้อตกลงที่ล้าสมัยให้ทันสมัย เข้าถึงสถานการณ์มากขึ้น ทำให้ประเทศไทย
               มีอำนาจต่อรองมากขึ้น

                     
 
 
 4.2.6.7  ความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิต่อการดำเนินงานของรัฐสภา ด้านการมีส่วนร่วม

               ในนโยบายระหว่างประเทศ

                     
 
 
 
     
   ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิในภาพรวมด้านการมีส่วนร่วมในนโยบายต่างประเทศ

               จากการสัมภาษณ์เห็นว่า เป็นเรื่องของฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลโดยมีกระทรวงการต่างประเทศเป็นหลัก
               อย่างไรก็ตาม มีการพิจารณาบางเรื่องในชั้นกรรมาธิการ ทั้งนี้ในส่วนของความร่วมมือกับรัฐสภานานาชาตินั้น
               พบว่ายังเป็นความร่วมมือที่เข้มแข็ง และรัฐสภาไทยก็เข้าร่วมการประชุมรัฐสภานานาชาติอย่างสม่ำเสมอ


                     
 
   4.2.6.8  ข้อเสนอแนะ ด้านการมีส่วนร่วมในโยบายระหว่างประเทศ

                                     - สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ควรจะมีสมาชิกที่มีความรู้ ความชำนาญ และความเข้าใจ

               ในเรื่องนี้ หรือเชิญผู้มีความรู้มาร่วมทำงาน อาจตั้งในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษา เป็นต้น

                                     - ควรมีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อที่เข้าถึงประชาชน เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบ

               การทำงานและผลงานในส่วนของนโยบายต่างประเทศ

                                     - การสร้างพันธกรณีทั้งด้านกฎหมายและการเงินในเวทีระหว่างประเทศ

               สภานิติบัญญัติแห่งชาติต้องประเมินผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบที่มีต่อประชาชนในทุกระดับ

                                     - การสร้างพันธกรณีกับต่างประเทศ ควรเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน
               สร้างอำนาจต่อรองกับต่างประเทศ และปรับปรุงข้อตกลงให้ทันสมัย เข้าถึงสถานการณ์มากขึ้น


                                     - สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาควรจัดทำคู่มือเพื่อเป็นแนวทางในการมีส่วนร่วม
               ในนโยบายต่างประเทศของสมาชิกทุกคน























            การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155   156