Page 155 - kpiebook63019
P. 155
150
จากการประเมินการดำเนินงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามกรอบแนวคิดของ
สหภาพรัฐสภา 6 องค์ประกอบในภาพรวม สรุปได้ว่า ความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน
โดยเมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในนโยบายระหว่างประเทศ มีค่าเฉลี่ย
สูงที่สุด ที่ 2.73 รองลงมา คือ ด้านการทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ ด้านความสำนึกรับผิดชอบ ด้านการตรวจสอบ
ฝ่ายบริหาร ด้านความโปร่งใสและการเข้าถึงได้ของรัฐสภา และด้านการเป็นตัวแทนของประชาชน มีค่าเฉลี่ย
ต่ำที่สุด ที่ 2.05
จากผลดังกล่าว เมื่อวิเคราะห์ตามองค์ประกอบย่อย จำนวน 32 องค์ประกอบ
พบว่า มีองค์ประกอบที่ได้ผลการประเมินในระดับสูง จำนวน 8 องค์ประกอบ โดยองค์ประกอบย่อยที่ได้รับ
ผลประเมินเฉลี่ยสูงที่สุด คือ องค์ประกอบย่อย เรื่อง ขีดความสามารถของกรรมาธิการในการทำหน้าที่
ด้านนิติบัญญัติ (ค่าเฉลี่ย = 3.39 คะแนน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.79) องค์ประกอบย่อยที่ได้ผล
การประเมินในระดับปานกลาง จำนวน 29 องค์ประกอบ และองค์ประกอบย่อยที่ได้ผลการประเมินในระดับต่ำ
จำนวน 1 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบย่อย เรื่องความโปร่งใสในการได้มาของสมาชิกรัฐสภา
(ค่าเฉลี่ย = 1.81คะแนน และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 1.21)
5.1.2.2 ผลการประเมินการดำเนินงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในด้านการเป็น
ตัวแทนของประชาชน
การประเมินการทำงานด้านการเป็นตัวแทนของประชาชน โดยประเมิน
3 องค์ประกอบย่อย คือ ความหลากหลายของสมาชิกรัฐสภา ระบบและกลไกการบริหารจัดการของรัฐสภา
เพื่อสร้างความเสมอภาค ความเท่าเทียมกันในการทำหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา และความโปร่งใสในการได้มา
ของสมาชิกรัฐสภา ได้ผลในภาพรวมพบว่า มีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง ค่อนไปทางต่ำ (ค่าเฉลี่ย =
2.05, S.D. = 0.88) โดยเป็นด้านที่ได้คะแนนน้อยที่สุดจากทั้งหมด 6 ด้าน ทั้งนี้เมื่อพิจารณาตาม
องค์ประกอบย่อย พบว่าด้านระบบและกลไกการบริหารจัดการของรัฐสภาเพื่อสร้างความเสมอภาค
ความเท่าเทียมกันในการทำหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด โดยมีการดำเนินงานอยู่ในระดับ
ปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.93, S.D. = 0.72) โดยทั้งการประชุมกลุ่มและผู้ทรงคุณวุฒิเห็นตรงกันว่า สำนักงาน
เลขาธิการวุฒิสภาซึ่งทำหน้าบริหารจัดการสภาพแวดล้อมการทำงานของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดำเนินการได้ดี แต่ในแง่การเป็นเวทีที่ให้แสดงความคิดอย่างหลากหลายและแสดงความห่วงกังวลของ
ประชาชนนั้นมีปัญหาด้านประสิทธิภาพการทำงานอย่างเป็นอิสระซึ่งทำไม่ได้เท่าที่ควร ทั้งนี้ ในส่วนของ
การปกป้องจากการแทรกแซงของฝ่ายบริหารในการแสดงความคิดเห็น การอภิปรายและลงมติ ส่วนใหญ่
เห็นเป็นไปในทางเดียวกันว่าถูกครอบงำจากฝ่ายบริหาร แม้ฝ่ายบริหารจะไม่ได้ควบคุมการแสดงความคิดเห็น
อย่างชัดแจ้ง แต่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติก็เลือกที่จะควบคุมตนเอง ไม่แสดงความเห็นที่แตกต่าง
เน้นการแสดงความเห็นสนับสนุนการทำงานของรัฐบาล รองลงมาคือ ด้านความหลากหลายของสมาชิก
รัฐสภา มีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.10, S.D. = 0.86) โดยผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มและ
ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่าการเป็นตัวแทนประชาชนของสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่มีความหลากหลายเท่าที่ควร
การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)