Page 153 - kpiebook63019
P. 153
148
5.1 สรุปผลการศึกษา
ผลการศึกษาจะนำเสนอตามวัตถุประสงค์การศึกษา เพื่อประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย
และนำเสนอผลการประเมินรวมถึงข้อเสนอแนะต่อการดำเนินงานของรัฐสภาแก่สมาชิกรัฐสภา (สภานิติบัญญัติ
แห่งชาติ)
5.1.1 เกณฑ์และตัวชี้วัดประสิทธิผลและประสิทธิภาพการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่
ของรัฐสภา
คณะผู้วิจัยได้ใช้เครื่องมือวิจัยที่ปรับปรุงจากแบบสอบถามในงานวิจัย เรื่อง สถาบันการเมือง
กับการพัฒนาประชาธิปไตย: ศึกษากรณีการดำเนินงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามเกณฑ์และตัวชี้วัดของ
สหภาพรัฐสภา (IPU) ทั้งนี้ โดยสภาวะที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นสภาที่มาจากการแต่งตั้งทั้งหมด จึงได้ตัด
ข้อคำถามที่เกี่ยวกับพรรคการเมืองออก รวมทั้งได้ลดทอนข้อคำถามที่มีการแยกสอบถามระหว่างการดำเนินงาน
ของสภาผู้แทนราษฎรกับวุฒิสภาให้เหลือเพียงประเด็นละ 1 ข้อ เนื่องจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีบทบาท
ทั้งการเป็นสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา โดยแบบสอบถามที่พัฒนาขึ้น แบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรก
เป็นข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ จำนวน 4 ข้อ ส่วนที่สอง
เป็นแบบสอบถามการดำเนินงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 6 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการเป็นตัวแทนของ
ประชาชน จำนวน 11 ข้อ ด้านการทำหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ จำนวน 13 ข้อ ด้านการตรวจสอบฝ่ายบริหาร
จำนวน 17 ข้อด้านความโปร่งใสและการเข้าถึงได้ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จำนวน 18 ข้อ ด้านความสำนึก
รับผิดชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จำนวน 8 ข้อ และด้านการมีส่วนร่วมในนโยบายระหว่างประเทศ
จำนวน 15 ข้อ รวมทั้งสิ้น 82 ข้อ โดยองค์ประกอบหลักและข้อคำถามตามองค์ประกอบย่อยในการประเมิน
รัฐสภาทั้ง 6 ด้าน นั้นได้แก่การเป็นตัวแทนของประชาชน การตรวจสอบฝ่ายบริหาร การทำหน้าที่ด้าน
นิติบัญญัติ ความโปร่งใสและการเข้าถึงได้ ความสำนึกรับผิดชอบ และการมีส่วนร่วมในนโยบายระหว่างประเทศ
5.1.2 สรุปผลการประเมินการดำเนินงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ผลการประเมินการดำเนินงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในครั้งนี้ เป็นผลที่ได้จากการ
นำตัวชี้วัดประสิทธิผลและประสิทธิภาพการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติไทย ที่สถาบัน
พระปกเกล้าพัฒนาขึ้นไปใช้ทดลองประเมินจริงกับทุกภาคส่วนทั่วประเทศ ขอบเขตการประเมินในครั้งนี้ คือ
ประเมินสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่ตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช
2557 โดยผลประเมินทั้งหมด มีดังนี้
5.1.2.1 ผลการประเมินการดำเนินงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติโดยภาพรวม
จากการเก็บข้อมูลระหว่างมีนาคม- พฤษภาคม 2562 โดยใช้แบบสอบถามที่
คณะผู้วิจัยได้พัฒนาให้มีความครอบคลุมอำนาจหน้าที่รัฐสภาไทยที่ดำเนินการโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ทำให้ได้ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณจากการตอบแบบสอบถามของผู้เข้าร่วมประชุม และข้อมูลเชิงคุณภาพจาก
การสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการประชุมกลุ่ม โดยผู้ประเมิน ได้แก่ ผู้แทนภาคส่วนต่าง ๆ ที่มีความรู้
การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)