Page 154 - kpiebook63019
P. 154
149
ความเข้าใจในระบบรัฐสภาไทยใน 4 จังหวัดทุกภูมิภาค ได้แก่ NGOs ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน สื่อมวลชน
นักวิชาการ องค์กรอิสระ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ข้าราชการระดับสูง ข้าราชการรัฐสภา และนักการเมือง
ทั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้กำหนดระดับการดำเนินงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 5 ระดับ
ดังนี้ คะแนน 0.00 - 1.00 ระดับต่ำมาก, 1.01 - 2.00 ระดับต่ำ, 2.01 - 3.00 ระดับปานกลาง, 3.01 - 4.00
ระดับสูง, 4.01 - 5.00 ระดับสูงมาก โดยได้ผลดังนี้
ดำเนินงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) จำนวนผู้ตอบ
ด้านการเป็นตัวแทนของประชาชน (R) 2.05 0.88 101
ด้านการทำหน้าที่นิติบัญญัติ (L) 2.69 0.93 103
ด้านการตรวจสอบฝ่ายบริหาร (O) 2.53 0.91 99
ด้านความโปร่งใสและการเข้าถึงได้ (T) 2.51 0.93 103
ด้านความสำนึกรับผิดชอบ (A) 2.65 0.84 99
ด้านการมีส่วนร่วมในนโยบายระหว่างประเทศ (I) 2.73 0.89 93
โดยนำเสนอเป็นแผนภูมิได้ตามภาพ 5-1 ค่าเฉลี่ยผลการประเมินการดำเนินงาน
ของสภานิติบัญญัติโดยภาพรวมดังนี้
ภาพ 5-1 ค่าเฉลี่ยผลการประเมินการดำเนินงานของสภานิติบัญญัติโดยภาพรวม
การประเมินผลการด าเนินงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
5 R
4
I 3 2.05 O
2.73 2 2.53
1
0
2.65 2.69
A L
2.51
T
ค่าเฉลี่ยผลการด าเนินงาน
ภาพ 5-1 ค่าเฉลี่ยผลการประเมินการด าเนินงานของสภานิติบัญญัติโดยภาพรวม
จากการประเมินการด าเนินงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตามกรอบแนวคิดของสหภาพรัฐสภา
6 องค์ประกอบในภาพรวม สรุปได้ว่า ความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน โดยเมื่อพิจารณาเป็นราย
องค์ประกอบ พบว่า ด้านการมีส่วนร่วมในนโยบายระหว่างประเทศ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ที่ 2.73 รองลงมา คือ
ด้านการท าหน้าที่ด้านนิติบัญญัติ ด้านความส านึกรับผิดชอบ ด้านการตรวจสอบฝ่ายบริหาร ด้านความโปร่งใส
การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
และการเข้าถึงได้ของรัฐสภา และ ด้านการเป็นตัวแทนของประชาชน มีค่าเฉลี่ยต่ าที่สุด ที่ 2.05
จากผลดังกล่าว เมื่อวิเคราะห์ตามองค์ประกอบย่อย จ านวน 32 องค์ประกอบ พบว่า
มีองค์ประกอบที่ได้ผลการประเมินในระดับสูง จ านวน 8 องค์ประกอบ โดยองค์ประกอบย่อยที่ได้รับผล
ประเมินเฉลี่ยสูงที่สุด คือ องค์ประกอบย่อย เรื่อง ขีดความสามารถของกรรมาธิการในการท าหน้าที่
ด้านนิติบัญญัติ (ค่าเฉลี่ย = 3.39 คะแนน และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.79) องค์ประกอบย่อยที่ได้ผล
การประเมินในระดับปานกลาง จ านวน 29 องค์ประกอบ และ องค์ประกอบย่อยที่ได้ผลการประเมินในระดับต่ า
จ านวน 1 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบย่อย เรื่อง ความโปร่งใสในการได้มาของสมาชิกรัฐสภา (ค่าเฉลี่ย =
1.81คะแนน และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 1.21)
5.1.2.2 ผลการประเมินการด าเนินงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในด้านการเป็นตัวแทน
ของประชาชน
การประเมินการท างานด้านการเป็นตัวแทนของประชาชน โดยประเมิน 3 องค์ประกอบย่อย คือ
ความหลากหลายของสมาชิกรัฐสภา ระบบและกลไกการบริหารจัดการของรัฐสภาเพื่อสร้างความเสมอภาค
ความเท่าเทียมกันในการท าหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภา และความโปร่งใสในการได้มาของสมาชิกรัฐสภา ได้ผล
ในภาพรวมพบว่ามีการด าเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง ค่อนไปทางต่ า (ค่าเฉลี่ย = 2.05, S.D. = 0.88)
5-3