Page 157 - kpiebook63019
P. 157

152






               ข้อมูลและไม่มีแหล่งข้อมูลให้ค้นหรือมีการประชาสัมพันธ์ให้บุคคลภายนอกทราบได้เลยว่ารัฐสภาใช้งบประมาณ

               ในการออกกฎหมายแต่ละฉบับเหมาะสมในระดับใด โดยหลักคงเป็นเบี้ยประชุม และค่าตอบแทนของสมาชิก
               สภานิติบัญญัติเท่านั้นแต่ที่ส่งผลกระทบมากที่สุด คือ ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสีย

               มีคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด โดยมีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.72, S.D. = 1.00) อันเป็น
               ผลจากกระบวนการดำเนินงานที่ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่ทั้งจากการประชุมกลุ่มและผู้ทรงคุณวุฒิเห็น
               ตรงกันว่าต้องอิงกับความต้องการของรัฐบาลเป็นหลัก แม้จะมีการตรากฎหมายที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน

               เช่น การแก้พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 โดยกำหนดให้ประชาชนสามารถตัดไม้ยืนต้นได้โดยไม่ผิด
               กฎหมายในที่ดินกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองของตน ทำให้สามารถทำประโยชน์ได้ แต่ก็เป็นส่วนน้อย และ

               กฎหมายส่วนใหญ่จะตราขึ้นเพื่อแก้ไขข้อขัดข้องในการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ และให้ประโยชน์
               แต่เฉพาะบางกลุ่มมากกว่าจะให้ประโยชน์กับประชาชนโดยรวม มิเพียงเท่านั้น ข้อเท็จจริงที่ว่าร่างกฎหมาย
               ที่ประชาชนเข้าชื่อกันเพื่อเสนอแก่สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณามีจำนวนน้อยมากนั้น เป็นสิ่งที่กระทบ

               ต่อความคิดเห็นต่อการดำเนินงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติอย่างมาก

                     
 
 
 5.1.2.4  ผลการประเมินการดำเนินงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในด้านการตรวจสอบ

               ฝ่ายบริหาร

                                     การประเมินในด้านนี้ แบ่งเป็น 5 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ ระบบการได้มาข้อมูลและ
               การตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหาร ระบบและขั้นตอนการพิจารณาและตรวจสอบงบประมาณประจำปี

               กระบวนการในการกลั่นกรองและตรวจสอบการทำหน้าที่ของฝ่ายบริหารและองค์กรอิสระ ความเป็นอิสระ
               และเอกเทศในการทำงานของรัฐสภาจากฝ่ายบริหาร และปัจจัยสนับสนุนการทำงานของสมาชิกรัฐสภา

               โดยผลการประเมินสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ด้านการตรวจสอบฝ่ายบริหาร ในภาพรวมพบว่า มีการดำเนินงาน
               อยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.53, S.D. = 0.91) และมีคะแนนสูงสุดเป็นลำดับที่สี่  โดยเมื่อพิจารณา
               ตามองค์ประกอบย่อย พบว่า ด้านความเป็นอิสระและเอกเทศในการทำงานของรัฐสภาจากฝ่ายบริหาร

               มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด โดยมีการดำเนินงานอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 3.09, S.D. = 1.23) ทั้งจากการประชุม
               กลุ่มและผู้ทรงคุณวุฒิ เห็นว่า สภานิติบัญญัติมีความเป็นอิสระในการจัดการสภาพการทำงานในองค์กร เช่น

               การกำหนดและการควบคุมงบประมาณของตนเอง การกำหนดวาระการประชุม การแต่งตั้งบุคลากร รองลงมา
               คือ ด้านปัจจัยสนับสนุนการทำงานของรัฐสภา มีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.99,
               S.D. = 0.70) ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มให้ความสนใจในประเด็น ผู้ช่วยดำเนินงาน ผู้ชำนาญการ ผู้เชี่ยวชาญ

                                                                                   55
               ที่ปรึกษาประจำตัวสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยเห็นว่ามีจำนวนมากเกินไป  เมื่อพิจารณากับขอบเขต
               งานที่ดำเนินการจริง และเชื่อว่าส่วนใหญ่เป็นผู้ใกล้ชิด และเครือญาติ มีคุณสมบัติไม่เหมาะสม ซึ่งสอดคล้องกับ

               ความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มองว่าการเลือกคนใกล้ชิดและญาติ เนื่องจากเห็นว่าทำงานร่วมกันได้ดี


               
     55   อย่างไรก็ดี ตามระเบียบรัฐสภาว่าด้วยการแต่งตั้งบุคคลเพื่อปฏิบัติหน้าที่อันจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของ
               สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และกรรมาธิการของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พ.ศ. 2557 ได้กำหนดให้สมาชิก
               สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญ และผู้ช่วยประจำตัวได้รวม 5 คน ระเบียบรัฐสภา และประกาศวุฒิสภาเกี่ยวกับการแต่งตั้ง
               บุคคลเพี่อปฏิบัติหน้าที่อันจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของวุฒิสภา สมาชิกวุฒิสภา และกรรมาธิการ พ.ศ. 2554 ได้กำหนดให้
               สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา มีผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการ และผู้ช่วยประจำตัวได้รวม 8 คน






            การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
   152   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162