Page 161 - kpiebook63019
P. 161
156
(ค่าเฉลี่ย = 3.01, S.D. = 1.09) โดยจากการประชุมกลุ่ม เห็นว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีจิตสำนึกรับผิดชอบ
ต่อประชาชนทั้งประเทศ โดยดูจากผลงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในการตรากฎหมายที่มีจำนวนมากและ
เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ เป็นต้น แต่เนื่องจากการได้มาของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติมาจากการแต่งตั้ง
ทำให้ขาดความเชื่อมโยงระหว่างสมาชิกกับประชาชนในพื้นที่ แม้จะมีโครงการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
พบประชาชน แต่มีลักษณะทำให้เกิดขึ้นมากกว่าจะเน้นการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ความเห็นนี้
แตกต่างจากกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่เห็นว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีความสำนึกรับผิดชอบต่อประชาชน แต่ก็อยู่
ภายใต้การครอบงำต่อฝ่ายบริหารซึ่งมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจมากกว่า รองลงมา คือ ด้านการพัฒนาการเรียนรู้
และเสริมสร้างขีดความสามารถของสมาชิกรัฐสภา มีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.76,
S.D. = 1.05) โดยกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเห็นว่าเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเสริมสร้างสมรรถนะและขีดความสามารถ
ของสมาชิกรัฐสภาในการปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบของตน แต่เห็นว่าแผนงานและโครงการพัฒนา
สมรรถนะของสมาชิกรัฐสภายังอยู่มีน้อยมากและไม่ต่อเนื่อง และมีข้อจำกัดจากลักษณะการทำงาน
ที่ไม่สามารถจัดการพัฒนาความรู้ควบคู่ไปด้วยได้ ทั้งนี้ที่ประชุมกลุ่มเห็นว่าเห็นว่าควรจัดให้มีกระบวนการ
พัฒนาสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่ต้องประเมินประสิทธิภาพของผลงานอย่างเป็นรูปธรรม ส่วนผู้ทรงคุณวุฒิ
ให้ความเห็นว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีการจัดกิจกรรมหรือโครงการพัฒนาการเรียนรู้ของสมาชิก
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่ไม่น่าจะประสบความสำเร็จ ในขณะที่บางท่านกล่าวว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ไม่มีการพัฒนาการเรียนรู้ให้แก่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ การดูงานเป็นการดูงานที่ไม่ได้ให้ความรู้
ส่วนด้านการสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนที่มีต่อรัฐสภามีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง
(ค่าเฉลี่ย = 2.52, S.D. = 0.93) จากการประชุมกลุ่มเห็นว่า แม้จะมีข้อมูลพื้นฐานเพื่อแสดงถึงการทำงาน
ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติแต่ละท่าน เช่น สถิติการเข้าประชุมสภา สถิติการเข้าประชุมคณะกรรมาธิการ
สถิติการอภิปราย และวาระการประชุมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติและคณะกรรมาธิการ แต่ประชาชน
ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ ทำให้ในที่สุดเห็นว่าผลการดำเนินงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติไม่คุ้มค่ากับผลตอบแทน
โดยส่วนผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่า สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีทั้งเงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่ม ค่าเบี้ย
ประชุม และยังมีเงินเดือนประจำอีกในเวลาเดียวกัน ซึ่งน่าจะจัดว่าเป็นการทำงานซ้ำซ้อน ยิ่งไปกว่านี้สมาชิก
สภานิติบัญญัติแห่งชาติยังได้รับความสนับสนุนด้านบุคลากร ด้วยการให้ค่าตอบแทนแก่บุคคลเพื่อเข้ามาช่วย
ประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติด้วย และสุดท้ายด้านระบบการรายงาน
ตรวจสอบ และลงโทษสมาชิกรัฐสภา กรณีมีพฤติกรรมผิดจริยธรรมหรือเข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อน
มีคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด โดยมีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.48, S.D. = 1.07) ทั้งนี้
จากทั้งการประชุมกลุ่มและผู้ทรงคุณวุฒิต่างเห็นว่ารัฐสภาจัดให้มีระบบการรายงาน ตรวจสอบ และลงโทษอยู่
แต่ขาดการบังคับใช้อย่างจริงจัง โดยเฉพาะกรณีสมาชิกขาดประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งแม้จะมี
ความพยายามดำเนินการแก้ไขเรื่องดังกล่าวแล้ว แต่ผลยังไม่เป็นที่ทราบในวงกว้าง ประชาชนยังคงติดภาพของ
กระบวนการตรวจสอบที่มีปัญหาหาอยู่ นั้น นอกจากนี้ผู้ทรงคุณวุฒิได้ให้ความเห็นว่าการจัดการเพื่อให้สมาชิก
สภานิติบัญญัติแห่งชาติรายงานการทำหน้าที่ต่อประชาชน ยังไม่เป็นระบบ ทำให้เป็นที่เคลือบแคลงสงสัย
ต่อประชาชน และสำหรับประเด็น “ผลประโยชน์ทับซ้อน” ผู้ทรงคุณวุฒิเชื่อว่า น่าจะมีเบื้องหลัง อาทิ กรณี
การขึ้นเงินเดือน ผลประโยชน์ตอบแทน และอื่น ๆ ให้แก่หน่วยงานที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติเคยดำรง
ตำแหน่งหรือยังปฏิบัติหน้าที่อยู่
การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)