Page 165 - kpiebook63019
P. 165

160






                     5.2.3  ข้อเสนอแนะด้านการตรวจสอบฝ่ายบริหาร


                     
 
   ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

                                 -  เพื่อให้งานด้านการตรวจสอบฝ่ายบริหารมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มขึ้น

                                   ควรเปลี่ยนที่มาของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ไม่ควรถูกตั้งมาจากฝ่ายบริหาร
                                   เพื่อให้สามารถคานอีกอำนาจกันได้ ต้องมีความหลากหลายในความรู้และประสบการณ์
                                   มาจากกลุ่มผลประโยชน์ทุกกลุ่ม ในกรณีข้าราชการไม่ควรเลือกจากข้าราชการประจำ

                                   เพราะจะเกิดการขัดกันแห่งผลประโยชน์ เนื่องจากต้องรักษาตำแหน่งต้องการ
                                   ได้รับการเลื่อนขั้น ต้องปกป้องงานของตนเอง และไม่สามารถอุทิศเวลาทำงานในสภา

                                   ได้เต็มศักยภาพ

                                 -  การเรียกบุคคลและเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามาชี้แจง

                                   ให้ข้อมูลเพื่อให้ได้บุคคลระดับที่ตัดสินใจได้ มีความรู้ความเข้าใจจริงในเรื่องที่จะมา
                                   ชี้แจง และได้รับความร่วมมืออย่างดีควรเรียกผ่านรัฐมนตรีที่กำกับดูแล นอกจากนั้น
                                   การจัดลำดับเวลาที่ถูกต้องเหมาะสมยังจำเป็น ผู้เข้ามาชี้แจงจะได้ไม่ต้องรอเสียเวลานาน


                     
     ข้อเสนอแนะเชิงบริหารจัดการ

                                    -  ควรมีการเผยแพร่ ถ่ายทอดสด การทำงานของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อมี

                                   การประชุมสภาในวาระที่สำคัญให้ประชาชนได้รับทราบ และเป็นการกระตุ้นสมาชิก
                                   สภานิติบัญญัติแห่งชาติแต่ละท่าน ให้ทำงานอย่างมุ่งมั่นตั้งใจ เพราะถูกจับตามองจาก
                                   ประชาชน นอกจากนั้น ควรสรุปประชุมทั้งในระดับสภาและกรรมาธิการ โดยมีสาระ

                                   ที่สั้น กระชับ เข้าใจง่าย แถลงหลังการประชุมทุกครั้งผ่านสื่อให้ประชาชนได้รับทราบ

                                    - ในการตรวจสอบการทำหน้าที่ประธานรัฐสภา ควรมีการกำหนดช่วงเวลาที่แน่ชัด เช่น

                                   ทุก 3 เดือน หรือทุก 6 เดือน เป็นต้น ให้สมาชิกประเมินการทำหน้าที่ของประธานสภา
                                   และในการนี้ควรมีการกำหนดวินัยนักการเมืองด้วย


                                 -  การปรับปรุงระบบการทำงาน ผู้ช่วยดำเนินงาน ผู้ชำนาญการ ผู้เชี่ยวชาญ ที่ปรึกษา
                                   ของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นั้น ควรลดจำนวนลงเพราะทำงานเฉพาะ
                                   ในส่วนกลาง อัตราค่าจ้างของบุคคลดังกล่าวต้องสอดคล้องกับคุณสมบัติจริง สำหรับ

                                   บุคคลที่เหมาะสมในการเลือกเพื่อรับตำแหน่งดังกล่าว ทางฝ่ายสภาควรทำบัญชีรายชื่อ
                                   บุคคลผู้มีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ เช่นเดียวกับกระทรวงการคลังกำหนด

                                   รายชื่อบุคคลผู้ควรได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจ ให้สมาชิกรัฐสภาเลือกจาก
                                   บัญชีรายชื่อดังกล่าว

                                 -  ในอีกแนวทางหนี่งคือนำงบประมาณทั้งหมดในการแต่งตั้งบุคคลดังกล่าวมาตั้งทีมวิจัย

                                   นำผู้มีความรู้ความสามารถทำงานในส่วนกลาง และแยกตามความสามารถ กำหนด







            การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
   160   161   162   163   164   165   166   167   168   169   170