Page 167 - kpiebook63019
P. 167

162






                     5.2.5  ข้อเสนอแนะด้านสำนึกรับผิดชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ


                     








  ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

                                 -  ต้องจัดให้มีการตรวจสอบจริยธรรมอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะจริยธรรมทางเพศ หรือ

                                   การทุจริตต่อหน้าที่ อาทิ การแต่งตั้งบุคคลเป็นสมาชิกวุฒิสภา เช่น บุคคลที่เคยมี
                                   ประวัติ หรือศาล หรือองค์กรอิสระ วินิจฉัยว่า มีความผิด เข้มงวด ไม่ควรได้รับ
                                   การแต่งตั้ง


                                    -  แนวทางการศึกษาและการสำรวจสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ต้องนำมาเปรียบเทียบ
                                   ย้อนหลังกับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่เกิดขึ้นหลังการปฏิวัติรัฐประหารทั้งหมด


                                    -  ให้สถาบันพระปกเกล้าต้องเป็นหน่วยงานสนับสนุนงานวิชาการให้รัฐสภาอย่างจริงจัง
                                   โดยจัดให้มีการอบรมปลูกฝังจิตสำนึกให้แก่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

                                   มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างจิตสำนึกการทำหน้าที่ภารกิจของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
                                   ซึ่งเป็นงานที่มีเกียรติสูงสุดให้แก่ประเทศ ทั้งนี้ หลักสูตรดังกล่าวเป็นการอบรม
                                   นักการเมืองในลักษณะ Refresh เพื่อสร้างนักการเมืองที่มีคุณภาพ เช่นเดียวกับวิธีการ

                                   ของประเทศอังกฤษ ตามประมวลจริยธรรมของประเทศอังกฤษ หลักสูตรดังกล่าว
                                   จะแนะนำถึงวิธีการตั้งกระทู้ถาม การแปรญัตติ การเสนอกฎหมาย ด้วย


                     
 
   ข้อเสนอแนะเชิงบริหารจัดการ

                                    -  จัดให้มีการอบรมอย่างเข้มข้นแก่สมาชิกรัฐสภา และผู้ให้การอบรมจะต้องเป็นบุคคล

                                   ตัวอย่างและมีความน่าเชื่อถือด้านจริยธรรม

                                    -  วิธีการประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย อาจให้สมาชิกรัฐสภาประเมินตนเอง
                                   ซึ่งมีข้อดี คือ ทำให้สมาชิกรัฐสภาเห็นผลการทำงานของตนเอง แต่เกรงว่า สมาชิก

                                   จะประเมินตนเองอย่างลำเอียง หากต้องการให้สมาชิกรัฐสภาประเมินตนเอง ต้องให้
                                   สมาชิกรัฐสภาทุกคนประเมินตนเองไปพร้อมกัน อย่างไรก็ดี นักวิจัยต้องเข้าร่วม

                                   สังเกตการณ์การดำเนินงานของสมาชิกรัฐสภาประกอบด้วย เพื่อให้ได้เนื้อหาและ
                                   ผลการประเมินที่ใกล้เคียงความเป็นจริงด้วย

                                    -  คุณสมบัติกับค่าตอบแทนให้แก่บุคคลเข้ามาช่วยประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่

                                   ของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ไม่สอดคล้องกัน ค่าตอบแทนน้อยเกินไปเมื่อเทียบกับ
                                   ภาระหน้าที่


                                    -  ให้นำงบประมาณการแต่งตั้งบุคคลผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน
                                   ของสมาชิกรัฐสภา ทั้งหมดมารวมเป็น “งบประมาณกองกลาง” เพื่อใช้ในการแต่งตั้งให้

                                   บุคคลเหล่านี้ทำงานด้านการวิจัย โดยคณะกรรมาธิการตั้งโจทย์ให้ศึกษาวิจัย พร้อมกับ








            การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
   162   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172