Page 162 - kpiebook63019
P. 162

157






                     
 
 
 5.1.2.7  ผลการประเมินการดำเนินงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในด้านการมีส่วนร่วม

               ในนโยบายระหว่างประเทศ

                               การประเมินในด้านนี้ มีองค์ประกอบย่อยถึง 7 ข้อ ได้แก่ การได้มาข้อมูลและ

               การมีส่วนร่วมในนโยบายระหว่างประเทศระดับทวิภาคีและพหุภาคี การมีส่วนร่วมในการสร้างพันธะด้านกฎหมาย
               และการเงินในเวทีระหว่างประเทศ บทบาทของรัฐสภาในการติดตามและตรวจสอบนโยบายและการปฏิบัติ

               ตามพันธะหรือข้อตกลงด้านความช่วยเหลือประเทศ บทบาทของรัฐสภาในการส่งเสริมการแก้ไขปัญหา
               ความขัดแย้งภายในประเทศและต่างประเทศ การสร้างความร่วมมือระหว่างรัฐสภาไทยกับรัฐสภานานาชาติ
               ขีดความสามารถในการมีส่วนร่วมด้านนโยบายระหว่างประเทศของรัฐสภา และการสร้างการมีส่วนร่วม

               ของประชาชนด้านนโยบายระหว่างประเทศ โดยผลการประเมินสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ด้านการมีส่วนร่วม
               ในนโยบายระหว่างประเทศ เป็นการดำเนินงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่ได้คะแนนสูงที่สุด

               โดยในภาพรวมพบว่า มีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.73, S.D. = 0.89) ทั้งนี้ แม้เฉลี่ย
               ในการทำงานด้านนี้จะมากที่สุด แต่จากการประชุมกลุ่มและความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ ส่วนใหญ่เห็นว่าเรื่อง
               นี้เป็นหน้าที่ของรัฐบาล ไม่ใช่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และไม่ค่อยเห็นบทบาทของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

               ในการมีส่วนร่วมในนโยบายต่างประเทศ แต่ที่ผ่านมา บทบาทของรัฐบาลในเรื่องการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ
               ต่างประเทศค่อนข้างโดดเด่น โดยเฉพาะ การแก้ไขการแก้ไขปัญหาการบินพลเรือนของไทยที่ไม่เป็นไป

               ตามมาตรฐานที่ ICAO กำหนด  และการแก้ปัญหา การประมงที่ขาดการรายงาน และการประมงที่ขาดการ
                                         56
               ควบคุม (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing (IUU))  ซึ่งเป็นการใช้มาตรการออกกฎเกณฑ์
                                                                         57
               ในฝ่ายบริหาร แต่สภานิติบัญญัติซึ่งในภาพรวมถูกมองว่าเป็นเนื้อเดียวกันกับรัฐบาล ทำให้ได้ผลทางบวกจาก

               การดำเนินงานการต่างประเทศของรัฐบาลไปด้วย ทั้งนี้ หากพิจารณาเฉพาะการดำเนินงานของฝ่ายนิติบัญญัติ
               เฉพาะในเรื่องการต่างประเทศโดยมุมมองจากภายนอก ส่วนใหญ่ไม่ทราบการทำงานในเรื่องนี้เท่าใดนัก

               ส่วนในมุมของสมาชิกเอง ก็เป็นไปในทำนองเดียวกันว่า อาจเพราะสภานิติบัญญัติแห่งชาติยังขาดผู้มีความรู้
               ความเข้าใจในเรื่องนโยบายระหว่างประเทศ รวมถึงความเชี่ยวชาญทางภาษาต่างประเทศในบางภาษา
               ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงการทำงานนี้ได้อย่างเต็มที่ โดยเมื่อพิจารณาตามองค์ประกอบย่อย พบว่า ด้านการสร้าง

               ความร่วมมือระหว่างรัฐสภาไทยกับรัฐสภานานาชาติ มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด โดยมีการดำเนินงานอยู่ในระดับสูง
               (ค่าเฉลี่ย = 3.16, S.D. = 0.93) อย่างไรก็ตาม ผู้เข้าร่วมประชุมกล่มส่วนใหญ่เห็นเป็นหน้าที่ของรัฐบาล

               เป็นหลัก ในขณะที่ผู้ทรงคุณวุฒิส่วนใหญ่มองว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่สนับสนุนรัฐบาลในประเด็นนี้
               รองลงมา คือ ด้านขีดความสามารถในการมีส่วนร่วมด้านนโยบายระหว่างประเทศของรัฐสภา มีการดำเนินงาน
               อยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 3.15, S.D. = 1.54) ซึ่งที่ประชุมกลุ่มส่วนใหญ่ไม่เห็นบทบาทการทำงานของ

               สภานิติบัญญัติแห่งชาติในเรื่องนี้ ซึ่งเป็นไปในแนวทางเดียวกับผู้ทรงคุณวุฒิส่วนใหญ่ โดยมีบางท่านรับทราบ
               การดำเนินในเรื่องนี้พอสมควร ส่วนการได้มาข้อมูลและการมีส่วนร่วมในนโยบายระหว่างประเทศระดับ

               ทวิภาคีและพหุภาคี มีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.86, S.D. = 0.99) ผู้ทรงคุณวุฒิ


               
     56   “เบื้องหลังความสำเร็จปลด ‘ธงแดง’ ICAO” https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/776495
               
     57   “ไทยเดินหน้าแก้ปัญหา IUU ยกระดับมาตรฐานการประมง” https://www.thaipost.net/main/detail/37951








            การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
   157   158   159   160   161   162   163   164   165   166   167