Page 160 - kpiebook63019
P. 160

155






               เนื่องจากการได้มาของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาตินั้น ประชาชนไม่ทราบกระบวนและเกณฑ์ในการคัดเลือก

               ผู้เข้าดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ

                                     สำหรับด้านโอกาสและความสะดวกของประชาชนในการเสนอความคิดเห็น

               ปัญหา ร้องทุกข์กับผู้แทนและกรรมาธิการโดยตรง มีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.16,
               S.D. = 1.20) โดยผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่า แม้สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะได้จัดให้มี “โครงการ สนช. สัญจร”

               ในจังหวัดต่าง ๆ แต่ยังมิใช่ช่องทางของการรับเรื่องราวร้องทุกข์ หากเป็นแต่เพียงเพื่อการพบปะกับประชาชน
               เท่านั้น โดยจากการประชุมกลุ่มเห็นว่าโครงการดังกล่าวมีประชาชนเพียงจำนวนน้อยเท่านั้นที่มีโอกาสได้เข้าพบ
               สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและคณะกรรมาธิการโดยตรง ทั้งนี้ด้านการดึงดูดเยาวชนให้สนใจงานของ

               รัฐสภา มีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.13, S.D. = 1.24) ผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มส่วนใหญ่
               ไม่ทราบว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีโครงการหรือกิจกรรมใดใดเพื่อดึงดูดให้เยาวชนหันมาสนใจในงานของ

               สภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่ให้ข้อมูลว่าเยาวชนส่วนใหญ่ไม่รู้จักสภานิติบัญญัติแห่งชาติว่าคือหน่วยงานอะไร
               มีอำนาจหน้าที่อะไร ซึ่งต่างจากกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่เห็นว่าสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีโครงการสร้างความรู้
               ความเข้าใจด้านสภานิติบัญญัติแห่งชาติให้แก่เยาวชน แต่การบริหารโครงการโดยสำนักงานเลขาธิการ

               สภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภามีลักษณะการบริหารงานมีลักษณะเป็นแบบราชการ
               ซึ่งไม่สามารถดึงดูดเยาวชนให้ความสนใจงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้อย่างคุ้มค่า เนื่องจากการออกแบบ

               รายการ กิจกรรม เน้นวิชาการมากเกินไป เช่นตอบปัญหา โต้วาที ซึ่งขาดความหลากหลาย น่าสนใจ
               ขาดเทคนิคในการดึงดูดความสนใจ มีโครงการที่น่าสนใจที่เคยจัดคือ การเยี่ยมชมรัฐสภา แต่ก็ยังอยู่ในวงจำกัด
               และท้ายสุด ด้านโอกาสในการมีส่วนร่วมเสนอข้อมูลและความคิดเห็นในการพัฒนาและแก้ไขกฎหมาย

               มีคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด โดยมีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง ค่อนไปทางต่ำ(ค่าเฉลี่ย = 2.01,
               S.D. = 1.14 จากการประชุมกลุ่มเห็นว่าส่วนใหญ่กระทำผ่านตัวแทนกลุ่มภาคประชาชน อาทิ ผู้แทนกลุ่มข้าว

               เป็นผู้แทนที่เข้าไปชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณากฎหมายว่าด้วยข้าว เป็นต้น แต่นับว่า
               การมีส่วนร่วมของประชาชนในเรื่องนี้ยังมีน้อยมาก ซึ่งเห็นได้จากจำนวนกฎหมายเสนอโดยประชาชนมีเพียง
               1 ฉบับเท่านั้น คือ พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2562 สอดคล้องกับความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิจะเช่นกัน


                     
 
   5.1.2.6  ผลการประเมินการดำเนินงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติในด้านความสำนึก
               รับผิดชอบ


                                     การประเมินผลด้านนี้แบ่งเป็น 4 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ ความสำนึกรับผิดชอบ
               ชองสมาชิกรัฐสภาต่อประชาชนทั่วประเทศ ระบบรายงานตรวจสอบและลงโทษสมาชิกรัฐสภากรณีมีพฤติกรรม
               ผิดจริยธรรมหรือเข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อน การสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาของประชาชนที่มีต่อรัฐสภา และ

               การพัฒนาการเรียนรู้และเสริมสร้างขีดความสามารถชองสมาชิกรัฐสภา โดยผลการประเมินสภานิติบัญญัติ
               แห่งชาติ ด้านความสำนึกรับผิดชอบ ในภาพรวมพบว่า มีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย =

               2.65, S.D. = 0.84) เป็นอันดับสาม ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาตามองค์ประกอบย่อย พบว่า ด้านความสำนึกความรับ
               ผิดชอบของสมาชิกรัฐสภาต่อประชาชนทั่วประเทศ มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด โดยมีการดำเนินงานอยู่ในระดับสูง










            การประเมินผลการดำเนินงานของรัฐสภาไทย (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) โดยใช้เกณฑ์และตัวชี้วัดของ Inter-Parliamentary Union (IPU)
   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164   165