Page 51 - kpiebook63014
P. 51

50     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
                  จังหวัดสุรินทร์






             2 คนนี้ ต่างช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน โดยบุคคลแต่ละคนในสังคมมีอิสระที่จะเลือกลูกน้องและ

             ยังมีอิสระในการกำาหนดจำานวนบุคคลที่เขาจะมีความสัมพันธ์ด้วย มีอิสระในการเลือกว่า เมื่อใดจะสิ้นสุด
             ความสัมพันธ์ ซึ่งเรียกว่า ความสัมพันธ์แบบผู้อุปถัมภ์กับลูกน้อง และมีลักษณะพิเศษ ดังนี้


                      1) มีการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินร่วมกัน โดยแต่ละคนต่างช่วยเหลือซึ่งกันและกัน


                      2) เนื่องจากลักษณะของการมีปฏิสัมพันธ์ของแต่ละคู่สัมพันธ์แตกต่างกัน จึงมีการให้ประโยชน์

             เป็นพิเศษต่อบางคนมากกว่าคนอื่นๆ

                      3) ความสัมพันธ์เช่นนี้ มีลักษณะเปราะบาง เพราะขึ้นอยู่กับตัวบุคคลมากกว่าหลักการ ดังนั้น

             การจะรักษาเสถียรภาพของความสัมพันธ์ไว้ได้ จะต้องมีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ต่อกันอย่างต่อเนื่อง
             บุคคลแต่ละคนต่างมีของที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่มีและของที่ทั้งสองฝ่ายต่างมีนั้นเป็นสิ่งที่อีกฝ่ายหนึ่งต้องการ


                      4) ความสัมพันธ์นี้ ประกอบด้วยบุคคลเพียงสองคน ดังนั้นผลประโยชน์ที่แลกเปลี่ยนกัน

             จึงเป็นผลประโยชน์ที่เฉพาะเจาะจงเป็นการส่วนตัว เช่น การเอื้อผลประโยชน์ต่อกันระหว่างเจ้าหน้าที่
             ของรัฐซึ่งมีอำานาจที่จะให้ผลประโยชน์เฉพาะอย่างแก่พ่อค้าได้ และพ่อค้าก็จะให้สิ่งของหรือเงินเป็นการ

             แลกเปลี่ยนต่อการได้รับสิทธิบางอย่างจากเจ้าหน้าที่นั้น ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเมืองนั้น ความสัมพันธ์
             แบบอุปถัมภ์ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางการเมือง ซึ่งมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างไปจากโครงสร้างทาง

             การเมืองแบบกลุ่ม กล่าวคือ


                         4.1)  ระบบนี้ขึ้นอยู่กับผู้นำาแต่เพียงฝ่ายเดียว (ผู้อุปถัมภ์)

                         4.2)  การก่อตัวและโครงสร้างของระบบ จะมีผู้นำาเป็นจุดศูนย์กลาง ไม่ใช่กลุ่มผู้นำาเป็น
                              คนที่ทำาให้เกิดความสัมพันธ์


                         4.3)  ความสัมพันธ์ในระบบนี้ เป็นความสัมพันธ์ในแนวดิ่ง และเป็นความสัมพันธ์ระหว่าง
                              คนสองคน  ในความสัมพันธ์แบบผู้อุปถัมภ์และลูกน้องนี้ ถ้าจะมีความรู้สึกร่วมกัน

                              ระหว่างลูกน้อง ก็เป็นเพราะว่าเขาต่างถือว่ามีนายคนเดียวกัน

                         4.4)  ผลประโยชน์ที่ทำาให้ผู้อุปถัมภ์และลูกน้องมีความสัมพันธ์ต่อกัน เป็นความสัมพันธ์
                              เฉพาะเจาะจงมากกว่าผลประโยชน์ร่วมแบบกลุ่ม วัตถุประสงค์ที่ผู้อุปถัมภ์และลูกน้อง

                              คงความสัมพันธ์ต่อกันไว้  ได้แก่ การแสวงหาผลประโยชน์ของแต่ละคน

                         4.5)  ผลประโยชน์ที่แต่ละคนแสวงหา ผันแปรไปตามความแตกต่างทางฐานะและอำานาจ เช่น

                              ผู้อุปถัมภ์ต้องการอำานาจ และชื่อเสียงเกียรติยศ ส่วนลูกน้องต้องการความคุ้มครอง
                              และเงิน เป็นต้น
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56