Page 49 - kpiebook63014
P. 49

48     การศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562
                  จังหวัดสุรินทร์






             ทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจอย่างจำากัดเข้าสู่ระบบคอมมิวนิสต์เพื่อเอาชนะปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะ

             อย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจชะงักงัน และความล้าหลังในเทคโนโลยีในสังคมโซเวียด แต่การปฏิรูปดูเหมือน
             จะยิ่งทำาให้สถานการณ์ปัญหาภายในประเทศเลวร้ายลง นำาไปสู่การแบ่งขั้วทางการเมืองของบรรดาผู้นำา

             ในระดับพรรค จนนำาไปสู่การล่มสลายของสหภาพโซเวียด และการประกาศเอกราชของประเทศที่แยกตัว
             ออกจากโซเวียด 15 ประเทศในทศวรรษที่ 1990


                      รัสเซียในฐานะประเทศใหม่ที่เกิดจากการล่มสลายของโซเวียด เผชิญหน้ากับการเปลี่ยนผ่านที่

             ไม่คุ้นเคยสองประการคือ ประชาธิปไตยนำาเข้า และการก่อตัวของระบบทุนนิยม ซึ่งเป็นวัฒนธรรมหรือ
             ประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่รัสเซียมีน้อยมากที่เกิดขึ้นหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียด


                      รัสเซียภายใต้ประธานาธิบดี Yeltsin ได้เปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์รัสเซียใหม่ด้วยการที่เขาเป็น

             ประธานาธิบดีคนแรกที่มาจากการเลือกตั้ง รวมทั้งมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ แต่ภายใต้การเป็นอิสระ
             ใหม่ของรัสเซียภายใต้การนำาของ Yeltsin สถาบันทางการเมืองในระบอบเก่าปรับตัวเข้าสู่สภา จึงนำาไป
             สู่การเผชิญหน้ากันระหว่างประธานาธิบดี Yeltsin กับสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์เก่าที่ปรับตัวเข้าไปเป็น

             สมาชิกสภา แต่Yeltsin สามารถควบคุมสื่อและการที่กองทัพในเวลานั้นก็อยู่ข้างเขา ทำาให้ความคิดที่จะ

             รัฐประหารของบรรดาสมาชิกรัฐสภาเป็นอันจบสิ้น และเป็นการจบสิ้นบรรดาระเบียบเก่าเมื่อ Yeltsin
             ร่างรัฐธรรมนูญที่ประกาศใช้ในปี 1993 ที่เน้นให้อำานาจฝ่ายบริหารเป็นสำาคัญ ซึ่งในรัฐธรรมนูญปี 1993
             ให้อำานาจประธานาธิบดีในการควบคุมเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้ แม้ว่ารัฐสภา

             จะไม่เห็นด้วยก็ตาม รวมทั้งมีอำานาจในการสั่งยุบสภาล่าง (Duma) เมื่อสภาล่างปฏิเสธชื่อนายกรัฐมนตรี

             ที่ประธานาธิบดีเสนอมา 3 ครั้ง จึงเห็นได้ว่าภายใต้ระบบกึ่งประธานาธิบดีของรัสเซีย รัฐสภาแทบจะ
             ไม่สามารถคานอำานาจหรือควบคุมการบริหารของประธานาธิบดีได้ ขณะที่ศาลก็อ่อนแอ เพราะอำานาจ
             ในระดับภูมิภาคมักเพิกเฉยต่อกฎหมายของศาลรัฐธรรมนูญ รวมทั้งอำานาจของประธานาธิบดีที่มีมาก

             จึงหลบเลี่ยงการถูกฟ้องร้องจากศาลได้


                      ระบบพรรคการเมืองในรัสเซียก็เป็นไปในทิศทางที่ฮั้ว/ประสาน/ควบรวมกับพรรคที่ประธานาธิบดี
             สนับสนุน มีเพียงพรรค Communists Party of Russian Federation (CPRF) ที่เป็นพรรคที่ไม่ได้ร่วมกับ

             ประธานาธิบดี แต่สถานการณ์ที่นั่งในสภาก็ยำ่าแย่ลง รวมทั้งในสมัยประธานาธิบดี Putin ก็เปลี่ยนระบบ
             การเลือกตั้งเป็นระบบสัดส่วนแทนระบบเขตเดียวเบอร์เดียวเพื่อกีดกันบรรดาผู้สมัครอิสระที่ประธานาธิบดี

             ไม่สนับสนุน ไม่ให้เข้ามามีที่นั่งในรัฐสภาได้


                      แม้ว่าในส่วนของภาคประชาสังคม จะมีจำานวนองค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำางานในประเด็นต่างๆ ทั้ง
             สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน ชาติพันธุ์ ที่มีมากถึง 300,000 กว่าองค์กรนับตั้งแต่ปี 1989 แต่องค์กรเหล่านี้

             ก็ประสบปัญหาหลายด้าน ทั้งในด้านการเงิน กลุ่มต่างๆ จึงหันไปหาองค์กรสนับสนุนจากต่างประเทศ
             ซึ่งทำาให้การเชื่อมต่อระหว่างองค์กรท้องถิ่นกับประชาชนอ่อนแอลง และยิ่งเป็นอันตรายเมื่อถูกมอง

             จากรัฐว่า เป็นเครื่องมือของต่างชาติ
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54