Page 52 - kpiebook63014
P. 52

51








                             4.6)  สายใยแห่งความสัมพันธ์ระหว่างผู้อุปถัมภ์กับลูกน้องแต่ละคน ขึ้นอยู่กับการตอบแทน

                                   ซึ่งกันและกัน โดยแต่ละฝ่ายต้องพยายามทำาให้อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่า เขายังมีค่าแก่
                                   การที่เป็นผู้อุปถัมภ์หรือลูกน้อง

                             4.7)  ความสัมพันธ์แบบนี้ มีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงค่อนข้างสูง และไม่มั่นคง


                             4.8)  ความสัมพันธ์แบบนี้ มักประกอบไปด้วย การมีลูกน้องมากมายหลายชั้น ตั้งแต่ชั้นที่
                                   ใกล้ชิดผู้อุปถัมภ์มากที่สุดไปจนถึงผู้ที่รู้จักคุ้นเคยกันเพียงเล็กน้อย ลูกน้องที่ใกล้ชิด

                                   เจ้านายมากก็มักจะมีลูกน้องของตนเองด้วย ดังนั้นเขาจึงเป็นผู้อุปถัมภ์ย่อยๆ เช่นกัน





                          ประเภทของระบบอุปถัมภ์


                          อาจแยกความแตกต่างระหว่างความสัมพันธ์ที่เป็นไปตามคำานิยามของสังคมในการที่ผู้รับอุปถัมภ์

                  จะยอมรับฐานะที่ด้อยกว่าของตนภายใต้ระบบบิดาอุปถัมภ์(patrimonial) และความสัมพันธ์อีกแบบหนึ่งที่
                  มีลักษณะของการใช้อำานาจกดขี่โดยผู้ที่มีอำานาจอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจการเมืองที่

                  ทำาให้การยอมรับสิทธิของการใช้อำานาจอย่างชอบธรรมตามประเพณีลดลง (แอนโทนี่ ฮอลล์, 2543,30-33)


                          1) ระบบบิด�อุปถัมภ์ ผู้อุปถัมภ์จะทำาหน้าที่คล้ายๆ ครอบครัวขยาย ที่หัวหน้าครอบครัว
                  จะเป็นผู้รับผิดชอบในสวัสดิการของผู้ที่อยู่ใต้อำานาจตน ซึ่งรวมทั้งครอบครัวของข้าทาสและแรงงานอิสระ
                  ในสถานการณ์นี้ รัฐบาลกลางไม่เข้มแข็งและชุมชนอยู่ค่อนข้างจะโดดเดี่ยว ความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์ใน

                  ลักษณะนี้จึงเป็นทางเลือกของชาวไร่ชาวนาที่ต้องการการคุ้มครองจากผู้อุปถัมภ์ที่มีอำานาจ ซึ่งในทำานอง

                  เดียวกัน ผู้ที่สามารถปกป้องคุ้มครองชาวไร่ชาวนาย่อมจะได้รับการยอมรับและสนับสนุนทางการเมือง
                  จากผู้รับอุปถัมภ์นั่นเอง ในสังคมปัจจุบัน ประชากรอาจยังต้องพึ่งพาผู้อุปถัมภ์โดยมีค่านิยมบางอย่างเป็น
                  ตัวสนับสนุน โอกาสที่ผู้มีอำานาจจะกดขี่เบียดบังย่อมเป็นไปได้  ตราบเท่าที่ระบบอุปถัมภ์ยังคงช่วยให้

                  ชาวไร่ชาวนาดำารงชีวิตอยู่ได้ ชาวไร่ชาวนาจะหันเข้าหาผู้อุปถัมภ์ (แอนโทนี่ ฮอลล์, 2543,31)


                          2) ระบบก�รใช้อำ�น�จกดขี่  เป็นลักษณะที่ผู้อุปถัมภ์ หรือเจ้าของที่นาได้หันมาใช้วิธีการกดขี่
                  ควบคุมผู้รับอุปถัมภ์มากขึ้น  การข่มขู่  และความรุนแรง และแม้กระทั่งการฆาตกรรม เป็นเรื่องปกติธรรมดา

                  การยอมรับในสิทธิและการเชื่อฟังเจ้าของที่นาในช่วงบิดาอุปถัมภ์ได้รับการท้าทายในรูปของการต่อต้าน
                  ไม่พอใจ และนี่เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม นอกจากนี้ การผูกขาดที่ดินของชนชั้น

                  นายทุนใหม่ และการที่ชาวไร่ชาวนาได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการตลาดสมัยใหม่มีผลในทางทำาลาย
                  ความชอบธรรมของผู้อุปถัมภ์แบบประเพณีที่เคยมีและได้สร้างความรู้สึกในหมู่ชาวไร่ชาวนาว่าถูกกดขี่

                  อันนำาไปสู่การลุกฮือก่อความไม่สงบขึ้น (แอนโทนี่ ฮอลล์, 2543,31-32)
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57