Page 48 - kpiebook63014
P. 48

47








                  แบบอำานาจนิยมอย่างผู้นำาในประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียกลาง แต่ก็ไม่สามารถขัดขวาง Nazarbayev

                  ให้จัดการกับกลไกต่างๆ ของรัฐบาลอย่างหยาบช้า เพื่อผลประโยชน์ของเขาและพวกพ้องได้ ในเดือน
                  ธันวาคม 2005 Nazarbayev ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีเป็นสมัยที่ 3 ซึ่งมีวาระการดำารงตำาแหน่ง 6 ปี

                  โดยชนะเสียงถึง 91% ซึ่งทำาให้ไม่ต้องทำาการเลือกตั้งในรอบที่ 2 ตามธรรมเนียมระบอบกึ่งประธานาธิบดี
                  อันทำาให้เกิดข้อวิจารณ์ถึงกระบวนการเลือกตั้งที่ไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม


                          Nazarbayev เป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์คนแรกของคาซัคสถาน ภายใต้การปกครองของ

                  สหภาพโซเวียด เขาได้เป็นประธานาธิบดีของประเทศหลังจากเป็นเอกราชในปี 1991 เขาสร้างอำานาจที่
                  มั่นคงแบบอัตตาธิปไตยให้ตัวเองและครอบครัว โดยการควบคุมรายได้ของประเทศที่ได้มาจากการขุดแร่

                  และขายนำ้ามัน ทำาให้เครือญาติของเขารำ่ารวยขึ้น ขณะที่ประชาชนของประเทศกลับยากจนลง


                          ภายใต้การปกครองของ Nazarbayev เสรีภาพของประชาชน สื่อมวลชน และพรรคการเมือง
                  ถูกจำากัด กล่าวคือ เขายอมอดทนให้กับความคิดเห็นที่ตรงข้ามกับเขาของบรรดาสื่อมวลชนในประเด็น
                  ที่ไม่ใช่เรื่องสำาคัญได้ ยอมให้มีการจัดตั้งสมาคมของพลเมืองและการจัดตั้งพรรคการเมืองที่ไม่เข้มข้นได้

                  แต่เขาจะจับคู่แข่งทางการเมืองที่มีศักยภาพเข้าคุก อันธพาลถูกว่าจ้างให้ทำางานให้รัฐ ทั้งการลอบสังหาร

                  หรือฆาตกรรมนักการเมืองหรือนักหนังสือพิมพ์ฝ่ายค้าน ในปี 2006 หน่วยพิเศษของประธานาธิบดี
                  Nazarbayev ได้สังหารผู้นำาฝ่ายตรงข้ามเขาคือ นาย Altynbeck Sarsenbaev มีการเรียกร้องความเป็นธรรม
                  จากการถูกสังหารของนาย Sarsenbaev แต่กลับกลายเป็นศาลพิพากษาให้บรรดาผู้เรียกร้องความเป็นธรรม

                  ถูกจับติดคุก


                          2. ในกระบวนการเปลี่ยนผ่านจากเผด็จการ แม้จะมีการเลือกตั้งในฐานะรูปธรรมที่แสดงออก
                  ซึ่งการเปลี่ยนผ่าน แต่กลไกในการก�ากับ ควบคุม ถ่วงดุลรัฐมักอ่อนเปลี้ย สาเหตุเป็นเพราะในกระบวนการ

                  เปลี่ยนผ่านดังกล่าวประเทศที่เปลี่ยนผ่านจากเผด็จการเป็นการเปลี่ยนจากวัฒนธรรมการเมืองหนึ่ง
                  สู่วัฒนธรรมการเมืองอีกแบบหนึ่ง ซึ่งทำาให้สถาบันการเมืองแบบประชาธิปไตยไม่อาจหยั่งรากลึก ผนวกกับ

                  การเอาตัวรอดของผู้นำาอำานาจนิยมเดิมที่ฉวยใช้อำานาจผ่านการเลือกตั้ง ส่งผลให้ขาดการกำากับ ควบคุม
                  ถ่วงดุลรัฐ ยกตัวอย่างเช่น ประเทศรัสเซีย ในหลายทศวรรษที่ผ่านมารัสเซียเป็นประเทศที่ยืนอยู่คนละข้าง

                  กับระบอบประชาธิปไตยแบบตะวันตก จากการก่อตั้งรัฐคอมมิวนิสต์เป็นรัฐแรกของโลกในปี ค.ศ.1917
                  ภายใต้ชื่อสหภาพโซเวียด รวมทั้งการรับหน้าที่เป็นประทีปส่องนำาทางให้กับบรรดาประเทศคอมมิวนิสต์

                  (อาจยกเว้นจีน) ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงสงครามเย็น


                          อย่างไรก็ตามการสิ้นสุดลงของสหภาพโซเวียดในต้นทศวรรษที่ 1990 ไม่ใช่มาจากเสียงปืน
                  เหมือนอย่างบรรดาประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกหลายประเทศในปลายทศวรรษที่ 1980

                  แต่กลับเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างไม่ใช้ความรุนแรง ผ่านการเปลี่ยนผ่านผู้นำาในทศวรรษที่ 1980 ที่
                  เห็นว่าระบบการเมืองและเศรษฐกิจแบบโซเวียดไม่ใช่ระบบที่ดีที่สุดอีกต่อไปในการที่จะเอาชนะโลกตะวันตก

                  ทั้งทางเศรษฐกิจ เทคโนโลยีและวิทยาการในด้านอื่นๆ  Mikhail Gorbachev พยายามที่จะฉีดยาการปฏิรูป
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53